กฎหมายตราสามดวง


กฎหมายตราสามดวง (Three Emblems Law)

กฎหมายตราสามดวง (Three Emblems Law)






กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ 1 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่า ที่มีมาแต่ครั้งโบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อ จุลศักราช 1166 ตรงกับ พ.ศ. 2347 โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา 3 ดวง คือ ตราพระราชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหนายก) 1 ตราพระคชสีห์ (สำหรับตำแหน่งสมุหพระกลาโหม) 1 และตราบัวแก้ว (สำหรับตำแหน่งโกษาธิบดี หมายถึงพระคลัง ซึ่งดูแลรวมทั้งกิจการด้านต่างประเทศ) ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง
กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้น โดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุด 1 เล่ม
กฎหมายที่ใช้กันอยู่ในระยะแรกของกรุงรัตนโกสินทร์นั้นก็คือกฎหมายที่ใช้อยู่เมื่อครั้ง กรุงศรีอยุธยา โดยอาศัยความจำ และการคัดลอกมาตามเอกสารที่หลงเหลือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงทำการวินิจฉัยเรื่องต่างๆ โดยอาศัยมูลอำนาจอธิปไตยของ พระองค์เองบ้าง อาศัยหลักฐานที่ได้จากการสืบสวน ฟังคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บ้างจนกระทั่งได้เกิดคดีขึ้นคดีหนึ่งและมีการทูลเกล้าฯถวายฎีกา คดีที่เกิดขึ้นนี้แม้เป็นคดีฟ้องหย่าของชาวบ้านธรรมดา แต่ที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์กฎหมาย ก็คือผลจากคดีนี้เป็นต้นเหตุให้นำมา ซึ่งการชำระสะสางกฎหมายในสมัยนั้น เป็นคดีที่อำแดงป้อม ฟ้องหย่านายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ทั้งๆ ที่ตนได้ทำชู้ กับ นายราชาอรรถ และศาลได้พิพากษาให้หย่าได้ตามที่อำแดงป้อมฟ้อง โดยอาศัยการพิจารณาคดีตามบทกฎหมาย ที่มีความว่า “ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้”
เมื่อผลของคดีเป็นเช่นนี้ นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกา ต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้น ขัดหลักความยุติธรรม ทรงสงสัยว่าการพิจารณาพิพากษาคดีจะถูกต้องตรงตามตัวฉบับกฎหมายหรือไม่ จึงมีพระบรมราชโองการ ให้เทียบกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ศาลใช้กับฉบับที่หอหลวงและที่ห้องเครื่อง แต่ก็ปรากฏ ข้อความที่ตรงกัน เมื่อเป็นดังนี้ จึงทรงมีพระราชดำริว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสม อาจมีความคลาดเคลื่อนจากการคัดลอก สมควรที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายใหม่ เหมือนการสังคายนา พระไตรปิฎกจากคดีอำแดงป้อมดังกล่าวข้างต้น ได้แสดงให้เห็นหลักกฎหมายสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายที่ว่าแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามไม่มีพระราชอำนาจที่จะแก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎหมาย ตามอำเภอใจ
ในคดีนี้แม้จะทรงเห็นว่าคำตัดสินนั้นไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม อันอาจเนื่องมาจากการคัดลอกกฎหมายมาผิด ก็ชอบที่จะจัดให้มีการชำระสะสางกฎหมายให้กลับไปสู่ความถูกต้องเหมือนการสังคายนาพระไตรปิฎก ดังพระราชปรารภที่ว่า “ให้กรรมการชำระพระราชกำหนดบทพระอายการ อันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ไปให้ถูกถ้วน ตามบาฬีและเนื้อความ มิให้ผิดเพี้ยนซ้ำกัน ได้จัดเป็นหมวด เป็นเหล่าเข้าไว้ แล้วทรงอุตสาห ทรงชำระดัดแปลง ซึ่งบทอันวิปลาดนั้นให้ชอบโดยยุติธรรมไว้”


- กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะเป็นกฎหมายของนักกฎหมาย (Juristenrecht) กล่าวคือ กฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ของกฎหมายตราสามดวงโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระธรรมศาสตร์ ที่มีลักษณะทั่วไปและมีฐานะสูงกว่าจารีตประเพณี มีการจัดระบบกฎหมายที่เป็นระบบและมีการใช้เหตุผลของนักกฎหมายปรุงแต่ง
-กฎหมายตราสามดวงมีลักษณะที่เป็นกฎหมายธรรมชาติ ทุกคนแม้แต่พระมหากษัตริย์ก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
-ไม่มีการบัญญัติโดยแท้ บทกฎหมายใหม่นี้จึงเป็นผลงานของ นักกฎหมาย อันได้แก่ ศาลและพระมหากษัตริย์ ซึ่งทรงเป็นนักกฎหมายด้วย ไม่ใช่กฎหมาย ที่บัญญัติขึ้นด้วยเหตุผลทางเทคนิค โดยกระบวนการนิติบัญญัติอย่างปัจจุบัน
-มีความนับถือตัวบทกฎหมาย เชื่อว่าไม่มีใครสามารถแก้กฎหมายได้เพราะกฎหมายไม่ใช่สิ่งที่คนสร้างขึ้น แม้แต่กษัตริย์ก็แก้ไม่ได้ หากเห็นว่ากฎหมายนั้นไม่เหมาะสมจะใช้การชำระสะสางไม่ใช่ยกร่างขึ้นใหม่หรือแก้ไขกฎหมายเดิม
-ไม่ใช่ประมวลกฎหมายที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านเพราะเป็นที่รวมของบทกฎหมายที่ปรุงแต่งโดยนักกฎหมายและจารีตประเพณีที่สำคัญเท่านั้น การเรียกว่าประมวลกฎหมายตราสามดวงนั้นเป็นเพียงการใช้คำว่าประมวลเพื่อยกย่องเท่านั้น
-เป็นกฎหมายที่ใช้เป็นคู่มือในการชี้ขาดตัดสินคดีเพราะเป็นกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการพิจารณาพิพากษาคดี และใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นหลัก ไม่ใช่กฎหมายที่เขียนขึ้นในลักษณะตำรากฎหมาย

 สาระสำคัญของกฎหมายตราสามดวงประกอบด้วยส่วนต่างๆ รวม 26 ส่วน ดังนี้
 ประกาศพระราชปรารภ
 พระธรรมศาสตร์
 หลักอินทภาษ
 กฎมนเทียรบาล
 พระธรรมนูญ
 พระอัยการกรมศักดิ์
 พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน
 พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
 พระอัยการบานผแนก
 พระอัยการลักษณะรับฟ้อง
 พระอัยการลักษณะพยาน
 กฎหมายพิสูจน์ด าน้ าพิสูจน์ลุยเพลิง
 พระอัยการลักษณะตุลาการ
 พระอัยการลักษณะอุทธรณ์
 พระอัยการลักษณะผัวเมีย
 พระอัยการทาส
 พระอัยการลักษณะลักพาลูกเมียผู้คนท่าน
 พระอัยการลักษณะมรดก
 พระอัยการลักษณะกู้หนี้
 พระอัยการเบ็ดเสร็จ (เบ็ดเตล็ด)
 พระอัยการลักษณะวิวาทตีด่ากัน
 พระอัยการลักษณะโจร
 พระอัยการอาชญาหลวง
 พระอัยการอาชญาราษฎร์
 พระอัยการกบฏ
 กฎพระสงฆ์
 กฎ 36 ข้อ พระราชบัญญัติพระราชก าหนดเก่า และพระราชก าหนดใหม่

ประกาศพระราชปรารภ
          คือ การประกาศถึงเหตุผลและความจำเป็นในการรวบรวมช าระสะสางตัวบทกฎหมายต่างๆ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น นำมารวมเข้าไว้เป็นกฎหมายตราสามดวง เพื่อใช้เป็นหลักในการอำนวยความยุติธรรม ให้แก่ราษฎร และเน้นถึงความสำคัญของดวงตราประทับว่า ตัวบทกฎหมายที่ชำระเสร็จ สามารถใช้บังคับและอ้างอิงได้ ต้องมีตราพระราชสีห์ตราพระคชสีห์และตราบัวแก้วประทับไว้ที่กฎหมายเท่านั้น หากไม่มีตราสามดวงนี้ ห้ามมิให้เชื่อฟังเป็นอันขาด

พระธรรมศาสตร์
           เริ่มด้วยการกล่าวถึงตำนานการตั้งแผ่นดิน การก าเนิดมนุษย์การกำเนิดรัฐ และ เจ้าผู้ครองรัฐ  การพบคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เมื่อพระมโนสารฤาษีเหาะไปที่กำแพงจักรวาล ได้พบรอยจารึกเป็นภาษาบาลีตัวโตเท่ากายช้างสาร แล้ว จดจำมาบันทึกเป็นคัมภีร์พระธรรมศาสตร์  มอบให้พระเจ้าแผ่นดินใช้เป็นหลักใน การดำรงความยุติธรรมในแผ่นดิน ส่วนนี้เป็นไปตามคติความเชื่อของอินเดีย ซึ่ง มอญและไทยได้รับอิทธิพลมาตามลำดับ
          ในส่วนสำคัญของพระธรรมศาสตร์ที่เป็นสาระสำคัญทางกฎหมาย ได้แก่ การวาง บทบัญญัติที่เป็นหลักการในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เป็นผู้พิพากษาตุลาการ ในการตัดสินคดีข้อพิพาททั้งหลายของราษฎร โดยผู้ที่เป็นผู้พิพากษาตุลาการที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความรู้แตกฉานในข้อกฎหมาย และรู้เท่าทันข้อเท็จจริง ตั้งแต่มูลเหตุแห่งคดีทั้งหลาย ฐานะแห่งคดีตามสภาพแห่งข้อหา   ข้ออ้าง และข้อต่อสู้คดีการวางตนให้คู่ความเชื่อถือและเชื่อฟังความไม่ เกียจคร้านในหน้าที่ ความมั่นคงในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ไม่ยอมให้มีการแทรกแซงจากฝ่ายใด การใช้ดุลพินิจได้อย่างถูกต้อง ถูกกฎหมายโดยเสมอภาค และการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เห็นแก่อามิสสินจ้าง รวม ทั้งเนื้อความว่าด้วยมูลคดี ซึ่งมี 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ มูลคดีแห่งผู้พิพากษาตุลาการ 10 ประการ และมูลคดีแห่งบุคคลอันเกิดพิพาทกัน
รวม 29 ประการ

หลักอินทภาษ
           เป็น การวางหลักธรรมในการดำรงตนและการปฏิบัติหน้าที่ของ ผู้พิพากษาตุลาการว่า ผู้พิพากษาตุลาการต้องพิจารณาตัดสินอรรถคดีด้วยความ เที่ยงธรรม ปราศจากความลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด อันเกิดจากอคติ 4 ประการ ได้แก่ 
            ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะรักชอบเห็นแก่อามิสสินบน 
            โทษาคติ คือ ลำเอียงเพราะโกรธ 
             ภยาคติ   คือ ลำเอียงเพราะกลัว 
            โมหาคติ  คือ  ลำเอียงเพราะหลง
            และเปรียบเทียบว่า ผู้พิพากษาตุลาการที่ตัดสินคดีความโดยลำเอียงขาดความเที่ยงธรรม เป็นผู้มีบาปกรรมอันหนักยิ่งกว่าบาปอันเกิดจากการฆ่าประชาชนผู้หา ความผิดมิได้และผู้ทรงศีลจำนวนมากเสียอีก แม้จะทำบุญมากมายจนมิอาจประมาณ ได้ก็ยังไม่อาจลบล้างบาปกรรมนี้ได้ นอกจากนี้ผู้พิพากษาตุลาการต้องเป็นผู้รอบรู้และเชี่ยวชาญในขั้นตอนของวิธีพิจารณาความในศาลตั้งแต่รับและตรวจคำฟ้อง คำให้การ ให้รู้กระจ่างว่าส่วนใดเป็นข้อสำคัญ ส่วนใดเป็นข้อปลีกย่อย   การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่เรียกว่า ชี้สองสถาน พิเคราะห์คำพยานต่างๆ เพื่อค้นหาความจริงให้ได้เสมือนนายพรานล่าเนื้อตามแกะรอยสัตว์ที่ล่าจนได้ตัว การตัดสินคดีต้องถูกต้องแม่นยำประดุจเหยี่ยวโฉบจับปลาตัวที่มุ่งหมาย ไว้ต้องยึดถือพระธรรมศาสตร์และหลักกฎหมายทั้งปวงเป็นหลักมั่น และตัดสิน ความด้วยกิริยาอันองอาจประดุจพญาราชสีห์
          หลักอินทภาษจึงแฝงไว้ทั้งหลักธรรมแห่งผู้พิพากษาตุลาการพึงยึดถือ ปฏิบัติและคติความเชื่อในเรื่องบาปบุญคุณโทษอันเกิดแก่ผู้ที่ปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามหลักอินทภาษนี้

กฎมนเทียรบาล
          เนื้อหาโดยรวมของกฎมนเทียรบาลตามกฎหมายตราสามดวง เป็นบทบัญญัติต่างๆ เกี่ยวกับพระราชฐานพระราชวงศ์   การถวายความปลอดภัยแด่องค์ พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายประการ แต่มิได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนในการก าหนดลำดับชั้นผู้ควรสืบราชสันตติวงศ์ไว้อย่างชัดเจน เพียงแต่กำหนดลำดับชั้นเครื่องอิสริยยศล าดับที่นั่งขณะ เข้าเฝ้า และหลักปฏิบัติต่างๆ ของพระราชโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่มีศักดิ์ฐานะต่างกันไว้มีการกล่าวถึง ลำดับชั้นและเครื่องอิสริยยศของพระราชโอรส พระมเหสีและเจ้านายในราชส านัก ล าดับศักดิ์และเครื่องยศของข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ กฎและ ระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง และเขตพระราชฐาน ตลอดจนขบวนเสด็จต่างๆ การบำเหน็จรางวัล แก่ผู้มีความชอบ และการลงโทษผู้ที่มีความผิดในราชการต่างๆ เช่น ราชการ สงคราม การปฏิบัติตน การรักษาวินัยของข้าราชการ และการลงโทษข้าราชการที่ กระทำผิด พระราชา
นุกิจ อันเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับหมายกำหนดการประจ าวัน ในการประกอบพระราชานุกิจ ของพระเจ้าแผ่นดินในช่วงกลางวันและช่วงกลางคืน ซึ่งมีมากมาย อันเป็นสิ่ง แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินของไทยแต่โบราณกาลมาแล้ว ทรงมีเวลาบรรทมและพักผ่อนเป็นการส่วนพระองค์น้อยมาก มีรายละเอียดและลักษณะ เครื่องแต่งกายของกษัตริย์เจ้านายในราชสำนัก และข้าราชการระดับต่างๆ ไว้พระราชพิธีต่างๆ ที่ต้องประกอบเป็นประจำในแต่ละเดือนครบทั้งสิบสองเดือน ดังที่เรียกว่า พระราชพิธีสิบสองเดือน การลงพระราชอาญาแก่พระราชโอรส พระสนม และเจ้านายในราชสำนัก ตลอดจนการใช้ราชาศัพท์ในการเรียกเครื่องอุปโภคทั้งปวงของพระมหากษัตริย์ และ ที่ใช้ในการสื่อสารกับพระมหากษัตริย์
           นักประวัติศาสตร์ได้สันนิษฐานว่า กฎมนเทียรบาลนี้คงมีมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้น แล้ว และมีข้อน่าสังเกตว่าหลักการและข้อบัญญัติต่างๆ ในกฎมนเทียรบาล  มิได้มีการอ้างอิงว่านำมาจากหลักในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ของ อินเดียและมอญแต่อย่างใด จึงเป็นกฎหมายที่แสดงให้เห็นถึงรากฐานขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมไทย ที่สร้างสมสืบต่อกันมายาวนาน

พระธรรมนูญ
          กฎหมายลักษณะพระธรรมนูญตอนต้น บัญญัติถึงหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่ว่าด้วยเขตอ านาจศาลต่างๆ ในการพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละประเภท  ตลอดจน อ านาจหน้าที่ของขุนนางต าแหน่งต่างๆ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาตุลาการ การเริ่มต้นคดีต้องทำการฟ้องร้องให้ถูก ต้องตามเขตอำนาจศาล และต้องฟ้องยังหน่วยราชการที่มีโรงศาลในสังกัดเท่านั้น ซึ่งมีหลายแห่งที่ผู้ว่าราชการกรมไม่มีโรงศาลในสังกัด จึงไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีได้
          บทบัญญัติในตอนกลางและตอนปลายเป็นการบัญญัติอ านาจหน้าที่ของข้าราชการใหญ่ น้อยทั่วราชอาณาจักรทั้งฝ่ายทหารและ ฝ่ายพลเรือน ในการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ โดยสื่อความหมายผ่านทางตราประจำตำแหน่ง ในส่วนนี้หากเปรียบเทียบกับกฎหมายปัจจุบัน ก็คือ กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน และอ านาจหน้าที่ของกระทรวงทบวง กรมต่างๆ นั่นเอง

พระอัยการกรมศักดิ์
          เป็นบทบัญญัติ เกี่ยวกับการกำหนดค่าตัวของบุคคลตามเพศ วัย  และสถานะต่างๆ เมื่อต้องคิดค่าสินไหมทดแทนกรณีทำให้ผู้อื่นเสียหายแก่ชีวิตหรือ ร่างกาย และเป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ที่ผู้พิพากษาจะกำหนดค่าสินไหม ทดแทนและค่าปรับในกรณีต่างๆ โดยยึดศักดินาของผู้เสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และผู้ทำให้เกิดความเสียหายดังกล่าวเป็นหลัก

พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน
          กฎหมายลักษณะนี้รวมทั้งพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ไม่มีการอ้างอิงว่า มาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์แต่อย่างใด  จึงเป็นกฎหมายในส่วน “พระราชนิติศาสตร์หรือพระราชนิติคดี” อันเกิดจากรากฐานวัฒนธรรม ประเพณีการปกครอง และภูมิปัญญาของชนชาติไทยที่สั่งสมกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน จนบัญญัติเป็นกฎหมายที่เป็นการกำหนดศักดินา ตำแหน่ง ยศ และหน้าที่ ของข้าราชการไทยโบราณ โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนเป็นกฎหมายที่กำหนด ตำแหน่ง ยศ และหน้าที่ของข้าราชการฝ่ายหน้า ซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือน กำหนดศักดินาและหลักเกณฑ์การลงโทษเจ้านายเชื้อพระวงศ์ระดับสูง กำหนดศักดินา และหน้าที่
ของข้าราชการฝ่ายในต่างๆ ไว้ด้วย พระบรมวงศานุวงศ์ที่มีศักดินาสูงสุดคือ พระมหาอุปราช ดำรงศักดินา สูงถึง 100,000
          ข้าราชการฝ่ายหน้าซึ่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนระดับสูงสุดคือ “เจ้าพญาจักรีศรีองครักษ” สมุห นายกซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีถือศักดินาสูงเป็นพิเศษ เรียกว่า ถือ ศักดินา 10,000 เอกอุราชสีห ถือตรา“พระราชสีห์” เป็นผู้บังคับบัญชาหัวเมือง ฝ่ายเหนือทั้งปวง ตราพระราชสีห์คือ ตราสำคัญดวงแรกในตราสามดวง
          ตำแหน่งโกษาธิบดี หรือเจ้าพระยาพระคลัง มี “ออกพญาศรีธรรมราชฯ”  เป็น ผู้ปกครอง มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ศักดินา 10,000 ถือ ตรา “บัวแก้ว” ก็ก าหนดไว้ในพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนเช่นกัน

พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง
          เป็นกฎหมายที่กำหนดศักดินา ยศ และหน้าที่ของข้าราชการฝ่ายทหาร รวมทั้งข้าราชการหัวเมือง ตำแหน่งสูงสุดคือ “เจ้าพญามหาเสนาบดีฯ” สมุหพระกลาโหม ซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีอีกตำแหน่งหนึ่ง มีหน้าที่บังคับบัญชาหัว เมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ถือศักดินา 10,000 เป็นผู้ถือตราพระคชสีห์ตราสำคัญดวง ที่ 2 ในตราสามดวง
          นอกจากนี้ในพระอัยการตำแหน่งนา ทหารหัวเมือง ยังมีการเทียบศักดินากับพระภิกษุสามเณรใน
พระพุทธศาสนาด้วย เช่น สามเณรรู้ธรรมและไม่รู้ธรรมมีศักดินาเทียบเท่าฆราวาสผู้มีศักดินา 300 และ  200 ตามลำดับ พระภิกษุรู้ธรรมและไม่รู้ธรรมมีศักดินาเทียบ เท่าฆราวาสผู้มีศักดินา 600 และ 
400 ตามลำดับ
          กฎหมายทั้งพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัว เมือง กำหนดให้คนระดับล่างสุดของสังคม คือ ยาจก วณิพก และทาสลูกทาส ถือ ศักดินาคนละ 5 ด้วย แสดงว่าศักดินา 5 คือ คนระดับต่ำที่สุดในสังคมไทย

พระอัยการบานผแนก
          เป็นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งปันกำลังพลของฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตามลักษณะการปกครองสมัยโบราณ โดยแบ่งกำลังพลเป็น “สมใน” คือผู้ที่เป็นฝ่ายใน และ “สมนอก” คือผู้ที่เป็นฝ่ายหน้ากำลังพลดังกล่าวต้องมีสังกัด “มูลนาย” คือผู้มีศักดินาเกิน 400 ขึ้นไป ได้แก่ เจ้าพระยา  พระยา  พระมหาราชครูพระ หลวงเมือง เจ้าราชนิกุล ขุนหมื่น  พันทนาย ซึ่งมีหลักฐานส าคัญคือ “ทะเบียนหางว่าว” แสดง หมู่ ไพร่หลวง ไพร่สม ทั้งที่เป็นไทและเป็นทาส จึงเป็นกฎหมายที่กำหนดให้มูลนายทำทะเบียนหางว่าว ไพร่หลวง ไพร่สม ทาสที่อยู่ในสังกัด และแจ้งให้แก่ทางการอย่างถูกต้อง
          นอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้ยังกำหนดเรื่องการแบ่งปันบุตรชายหญิงที่เกิดจาก กำลัง พล ที่ฝ่ายพ่อและแม่เป็นทหารด้วยกัน หรือเป็นพลเรือนด้วยกัน หรือพ่อเป็นทหาร แม่เป็นพลเรือน  หรือพ่อเป็นพลเรือน แม่เป็นทหาร พ่อและแม่อยู่สังกัดเดียว กัน หรืออยู่ต่างสังกัดกัน

พระอัยการลักษณะรับฟ้อง
          กฎหมายลักษณะนี้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีความสามารถและมีอำนาจฟ้องคดี เช่น คนวิกลจริตบ้าใบ้คนตาบอด คนขอทาน คนสูงอายุหลงใหลแล้ว เด็กอ่อนอายุยังไม่รู้ความ มาฟ้องร้องเรื่องใด ผู้เป็น ตุลาการต้องไต่สวนก่อนว่าคดีมีมูลหรือไม่ จะรับฟ้องทันทีมิได้หรือบุคคลภายนอกจะน าคดีที่มิใช่คดีของตนและคดีที่มิใช่เป็นคดีของบิดามารดา ปู่ย่าตา ยายลุงป้าน้าอาบุตรภรรยาพี่น้องของตนมาฟ้องเป็นคดีมิได้ นอกจากนี้ยังกำหนดลักษณะต้องห้าม ซึ่งเป็นเหตุตัดฟ้อง 20 ประการ ซึ่งเมื่อคู่ความยกเหตุตัดฟ้องประการใดประการหนึ่งขึ้น ต่อสู้ตุลาการต้องยกฟ้องทันทีเช่น ตัดฟ้องว่าเป็นคดีอุทลุมคือ บุตรหลานมาเป็นโจทก์ฟ้องพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นจำเลย หรือเป็นญาติพี่น้องเจ้ามรดกผู้ตาย แต่ได้ความว่ามิได้ช่วยรักษาพยาบาลและท าศพเจ้ามรดก กลับมา ฟ้องร้องเรียกมรดก ถ้าได้ความดังนี้ตุลาการต้องยกฟ้องทันทีลักษณะตัดส านวนซึ่งเป็นกรณีที่ศาลรับฟ้อง แล้ว ระหว่างพิจารณาหากคู่ความมีการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อ ห้าม ถือเป็นการตัดส านวน     ผู้ละเมิดข้อห้ามเป็นฝ่ายแพ้คดีเช่น คดีฝ่ายที่ถูกพบหลักฐานว่าให้สินจ้างสินบนตุลาการให้เข้าข้างตน ต้องถูกปรับเป็นแพ้คดี หรือตุลาการนัดคู่ความฝ่ายใดพิจารณาเรื่องใดฝ่ายนั้นขาดนัดถึง 3 ครั้ง ต้องถูกปรับให้แพ้คดี
          กฎหมายฉบับนี้ยังบัญญัติถึงลักษณะตัดพยานอันเป็นการปฏิบัติโดยมิชอบเกี่ยว กับพยานในการพิจารณาคดี เช่น แนะนำเสี้ยมสอนให้พยานให้การเข้าข้างตน ขู่เข็ญพยานผู้ปฏิบัติดังกล่าวต้อง ถูกปรับให้แพ้คดีและการประวิงความ โดยกระทำการหน่วงเหนี่ยวแกล้งให้คดีความ เกิดล่าช้า เช่น ไม่ยอมมาศาล อ้างว่าป่วย แต่ความจริงสบายดี ศาลตรวจพบว่าไม่จริง  ฝ่ายที่หน่วงเหนี่ยวจะถูกปรับคดีเป็นแพ้สุดท้ายคือ ลักษณะว่าต่างแก้ต่างแทนกัน หมายถึงการก าหนดประเภทคดีที่บุคคลสามารถเข้ามา ฟ้องคดีหรือต่อสู้คดีแทนผู้เสียหายหรือผู้ถูกกล่าวหาได้ และการห้ามมิให้เข้ามาฟ้องคดีหรือสู้คดีแทนกัน ในคดีบางประเภท เช่น การทำเงินตราปลอม การวางเพลิง การเป็นชู้

พระอัยการลักษณะพยาน
          กฎหมายลักษณะพยานกล่าวถึงความสำคัญของพยานที่มีต่อคดีและบาปบุญคุณโทษ อัน ได้แก่ พยานที่เบิกความตามจริง และผู้เป็นพยานเท็จ ผู้พิพากษาต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะพยาน บุคคล 33 จ าพวกที่ไม่ให้ฟังเป็นพยาน เว้นแต่คู่ความยินยอม เช่น พยานที่เป็น คนจรจัด คนขอทาน เด็กไม่รู้ความ และได้ก าหนดลักษณะพยานบุคคลที่เรียงตาม ล าดับความน่าเชื่อถือจากมากไปหาน้อย 3 จำพวก คือ ทิพพยาน ได้แก่ พยานที่เป็นพระภิกษุผู้ทรงศีล  นักปราชญ์ราชบัณฑิต และขุนนางผู้มีบรรดาศักดิ์ อุดรพยาน ได้แก่ ข้าราชการผู้น้อย พ่อค้า ประชาชน และอุตริพยาน ได้แก่  พี่น้องเพื่อนฝูงของ คู่ความ และคนหูหนวกตาบอด  คนเป็นโรคร้าย คนขอทาน การสืบพยานและการรับฟังพยานในกรณีต่างๆ

กฎหมายพิสูจน์ดำน้ำพิสูจน์ลุยเพลิง
          กฎหมายฉบับนี้เป็นมาตรการสุดท้ายที่จะหาเกณฑ์ตัดสินข้อแพ้ชนะในระหว่างคู่ ความโดยยึดถือปรากฏการณ์ที่เหนือหรือเกินเกณฑ์มาตรฐานตามธรรมชาติเป็นตัวชี้วัด เช่น วิธีให้คู่ความลุยเพลิงถ่านไฟหนา 1 คืบ ยาว 6 ศอก กว้าง 1   ศอก   ฝ่ายใดฝ่าเท้าไม่พองเป็นฝ่ายชนะ  แต่ก่อนจะมาถึงวิธีการนี้คดีดังกล่าวได้ผ่านกระบวนพิจารณาที่ควรจะทำมาทั้งหมดแล้ว   แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าว ขาดทั้งประจักษ์พยาน พยานแวดล้อม และพยานหลักฐานอื่นๆ ไม่อาจค้นหาความจริงได้ จึงยอมให้ใช้วิธีพิสูจน์ซึ่งมี ๗ ประการ ได้แก่ 1. ล้วงตะกั่ว  2. สาบาน  3. ลุยเพลิงด้วยกัน 4. ดำน้ำด้วยกัน 5. ว่ายขึ้นน้ำแข่งกัน 6.ว่ายข้ามฟากแข่งกัน 7.จุดเทียนคนละเล่มแล้วดูว่าผู้ใดหมดก่อน เป็นเกณฑ์แพ้ชนะกันกฎหมายลักษณะนี้สะท้อนให้เห็นความ เชื่อถือในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และอำนาจเหนือธรรมชาติที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมาช้านานแล้ว

พระอัยการลักษณะตุลาการ
          กฎหมายฉบับนี้มีที่มาจากการสำแดงลักษณะอคติ  4  ประการ ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ และโมหาคติที่ผู้เป็นผู้พิพากษาตุลาการต้องกระทำตนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เที่ยงตรง ไม่ลำเอียงไปโดยอคติ๔  ดังกล่าว  รวมทั้งกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติ  ข้อห้าม ข้อกำหนดต่างๆ ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาเจ้าพนักงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนคู่ความ

พระอัยการลักษณะอุทธรณ์
          เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินกระบวนพิจารณาลักษณะต่างๆ ในศาลชั้นต้นอันเป็นเหตุให้อุทธรณ์คดีต่อศาลสูงได้รวมทั้งผลที่จะเกิดแก่ ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น และคู่ความกรณีที่รับฟังได้หรือไม่ได้ในการอุทธรณ์โดยเฉพาะกรณีที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นทำงานผิดพลาด ตัดสินความไม่ ยุติธรรม จะถูกลงโทษ และต้องรับผิดในค่าเสียหายที่เกิดแก่คู่ความฝ่ายที่เสียหายด้วย

พระอัยการลักษณะผัวเมีย
          เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในครอบ ครัว ได้แก่  สามี  ภริยา บุตร บิดามารดา ทั้งในทางแพ่งและทางอาญา เช่น การสมรส  การเป็นชู้ (ใช้เฉพาะหญิงผู้เป็นภรรยามีชู้)  การข่มขืนกระทำชำเราหญิง และเด็กหญิง    ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา การชดใช้ค่าเสียหาย และการลงโทษในกรณีละเมิดข้อห้ามต่างๆ ทางกฎหมาย

พระอัยการทาส
          เป็นบทบัญญัติ เกี่ยวกับลักษณะทาส  7 ประการ ได้แก่ ทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย ทาสได้มาข้างบิดามารดา ทาสมีผู้ให้   ทาสที่ได้ช่วยเมื่อต้องโทษทัณฑ์ ทาสที่เลี้ยงดูมาในยามข้าวยากหมากแพง ทาสเชลย และทาสสินไถ่ การตกเป็นทาสประเภทต่างๆ  การตั้งค่าตัว  การไถ่ถอนการปฏิบัติตน  สิทธิหน้าที่ของทาสประเภทต่างๆ ระหว่างทาสกับนายเงิน และผู้ที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ  รวมทั้งก าหนดว่าทาสคือ คนของพระมหากษัตริย์  ที่นายเงินจะลงโทษถึงตายไม่ได้

พระอัยการลักษณะลักพาลูกเมียผู้คนท่าน
          เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระท าความผิดฐานลักพาเอาข้าคน ลูกเมีย ทาส ของผู้อื่นไปในลักษณะต่างๆ เช่น ถ้าลักพาลูกเมียผู้อื่นไปซ่อนไว้ในเรือน จะถูกปรับไหม และลงโทษในอัตรา หนึ่ง หากลักพาหนีไปนอกเมือง จะถูกปรับไหม และลงโทษในอีกอัตราหนึ่ง

พระอัยการลักษณะมรดก
          เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการและแบ่งปันทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกผู้ที่เป็น ขุนนางมี
บรรดาศักดิ์ พ่อค้า และประชาชนธรรมดาให้แก่ทายาทโดยธรรม เช่น คู่สมรสระดับต่างๆ ได้แก่ ภริยา
พระราชทาน ภริยาสู่ขอ อนุภริยา ทาสภริยา และบุตรที่เกิดจากภริยาต่างๆ การท าบัญชีทรัพย์มรดก การท าพินัยกรรม

พระอัยการลักษณะกู้หนี้ 
          เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินกันในลักษณะต่างๆ 13 ประการ   เช่น การกู้เงินระหว่าง ผู้มี
ความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน ได้แก่ บุตร  บุตรเขย  ลูกสะใภ้ พี่น้อง หลานข้างบิดาหรือข้างมารดา หลานเขย ภรรยาหลวง ภรรยาน้อย หากกู้ยืมเงินกัน ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน อย่างไร รวมทั้งการกู้เงินในลักษณะทั่วไป และลักษณะอื่นๆ

พระอัยการเบ็ดเสร็จ (เบ็ดเตล็ด)
          เป็นบทบัญญัติที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆ หลายด้าน เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบ และการชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากท าไร่  ทำนา  ทำสวนรุกล้ำกินแดน กันหรือเกิดจากการกระทำของสัตว์พาหนะ เช่น  ช้าง  ม้า วัว   ควาย นอกจากนั้นยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการยืม การฝากทรัพย์ การซื้อ ขาย  การเช่า การเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับ การจราจรทั้งทางบก เช่น เกวียนโดนกัน และทางน้ำ เช่น เรือโดนกัน การเล่นการ พนัน แม้กระทั่งการเกิดอันตรายจากการท าไสยศาสตร์ การกระท าคุณไสย การวางยาพิษ และการทำให้แท้งลูก เนื่องจากมีบทบัญญัติหลากหลายมาก จึงเรียกชื่อว่า พระอัยการเบ็ดเสร็จ (เบ็ดเตล็ด)

พระอัยการลักษณะวิวาทตีด่ากัน
          เป็นบทบัญญัติถึงการกระท าความผิดทะเลาะวิวาทด่าทอกัน  และทำร้ายร่างกายกัน ทั้งที่เป็นการชกต่อยกัน หรือใช้อาวุธทั้งของมีคม และไม่มีคมทำร้ายกัน เป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายหรือ บาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ความตาย โดยแบ่งลักษณะการกระทำผิดเป็นหลายลักษณะ และกำหนดโทษ และค่าเสียหายสำหรับการกระทำแต่ละลักษณะไว้แตกต่างกัน และมีบทบัญญัติที่แสดงถึงผู้ใหญ่ต้องมีเมตตา และผู้น้อยควรให้ความเคารพ ผู้ใหญ่ การให้อภัยและการรักษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอันเป็นลักษณะของคน ไทย เช่น ในกรณีที่เกิดการทะเลาะกันในครัวเรือนระหว่างพ่อตา แม่ยาย ลูกเขย ลูก สะใภ้พ่อผัว แม่ผัว เมียหลวง เมียน้อย ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา หากผู้เสีย
หายไม่ได้รับอันตรายถึงสาหัส ให้ผู้ปกครองบ้านเมือง เช่น นายร้อย นายแขวง นายอำเภอ ว่ากล่าวตามความผิดและตามลำดับการเป็นผู้ใหญ่ผู้น้อย โดยให้ขอขมาท าขวัญกัน หรือหากผู้ใหญ่บันดาลโทสะตีทารกก็จะต้องเสียค่าเสีย หายเป็นทวีคูณ

พระอัยการลักษณะโจร
          เป็นบทบัญญัติในการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ ที่มีลักษณะการกระทำผิด หนักเบาแตกต่างกัน โดยคำนึงถึงตัวทรัพย์ที่ถูกประทุษร้าย ตัวเจ้าทรัพย์และ องค์ประกอบอื่นๆ เพื่อมีบทกำหนดโทษที่แตกต่างกัน       
           มีการแบ่งโจรออกเป็น 8 จำพวก ซึ่งประกอบด้วย “องคโจร” รวม 3 จำพวก และ “สมโจร” 
รวม 5 จำพวก องคโจร 3 จำพวก ได้แก่ ผู้เป็นตัวการกระทำเอง ผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำ และผู้สั่งสอนวิชาโจร ส่วนสม  โจร 5 จ าพวก ได้แก่ ผู้ให้ที่พักแก่โจร ผู้เป็นมิตรสหายกับโจร ผู้สมรู้ร่วมคิดกับโจร ผู้ให้ที่กำบังหลบซ่อนแก่ โจร และผู้อยู่กินอาศัยกับโจร การกระทำผิดก็มีทั้งการปล้น การชิง การ ลัก ซึ่งบางกรณีมีการทำร้ายเจ้าทรัพย์ถึงแก่ความตาย ตลอดจนการกระทำผิดขั้นอุกฤษฏ์โทษต่างๆ     เช่น ลักพระพุทธรูป หรือลอกของมีค่าที่องค์พระ เช่น เอาองค์พระพุทธรูปทองไปเผาเพื่อลอกเอาทอง โดยการกำหนดโทษจะหนักเบาลดหลั่นไป ตามลักษณะการกระทำผิด

พระอัยการอาชญาหลวง
          เป็นบทบัญญัติไม่ให้ขุนนาง และราษฎรทำการใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ได้แก่ การละเมิดพระราชโองการ พระราชบัญญัติและพระราชเสาวนีย์การกระทำผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ การเบียดบังลักพระราชทรัพย์และค่าภาษีค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือการกระท าความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ การกระท าที่เป็นภยันตรายแก่ประชาชน และความผิดอื่นๆ เช่น กระท าทุจริตเกี่ยวกับการเกณฑ์ก าลังพลไปใช้ในราชการสงคราม การใช้ก าลังอาวุธเข้าข่มขู่กรรโชกทรัพย์แก่ราษฎรให้ได้รับความเดือดร้อน การปฏิบัติหน้าที่ ราชการทั้งในฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนโดยมิชอบหรือโดยทุจริต

พระอัยการอาชญาราษฎร์
          เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระท าต่างๆ ที่เป็นการข่มเหงราษฎรด้วยกัน เช่น ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้และหลบหนี้เจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ไปพบเข้าก็ใช้ก าลังจับกุมมาจองจำเอาไว้โดยพลการ ไม่มอบให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้งการกระทำความผิดฐาน ท าให้เสียทรัพย์ เช่น ไปท าลายพืชผล รั้วหรือบ้านเรือนผู้อื่นให้เสียหาย

พระอัยการกบฏ
          ค าว่า กบฏ ศึก ตามกฎหมายฉบับนี้ มิได้หมายความเฉพาะการยึดอำนาจปกครองประเทศจากองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำลักษณะร้ายแรงต่างๆ  ทั้งที่มีผลต่อความมั่นคงในราช อาณาจักร และเป็นการกระท าผิดในลักษณะที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม อันดีของประชาชนอย่างร้ายแรง เช่น ปล้นพระนคร เผาพระราชวัง ปล้นและ เผาวัด  ฆ่าบิดามารดาครูบาอาจารย์  ลักพา กระท าทารุณตัดมือตัดเท้า และฆ่า เด็กทารก โทษที่กำหนดไว้ส าหรับการกระท าผิดที่มีลักษณะรุนแรงให้ผู้ถูกลงโทษ ได้รับความทรมาน นอกจากนี้ยังมีการก าหนดการกระทำของผู้มีหน้าที่ในกองทัพยาม เกิดศึกสงครามกำหนดกิจที่พึงกระทำหรือพึงงดเว้นตามหลักพิชัยสงคราม การลง โทษกรณี
ฝ่าฝืน และการปูนบำเหน็จให้รางวัลกรณีทำความชอบ และอื่นๆ

กฎพระสงฆ์
          มีรวม 10 ข้อใหญ่ เป็นการวางหลักปฏิบัติ ข้อพึงปฏิบัติข้อห้าม การสอดส่องดูแล การกำกับตรวจสอบเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายประพฤติตนได้สมกับสมณเพศตามพระธรรมวินัย และมีบทลงโทษกรณีต่างๆไว้โดยมีการยกตัวอย่างคดีที่พระสงฆ์กระทำผิด หรือประพฤติไม่สมควรออกนอกลู่นอกทางไว้มากมายหลายกรณี เช่น การเสพเมถุนกับสีกา  พูดจา หรือทำกิริยาเกี้ยวพาราสีสีกา เสพสุรา เล่นการ พนัน อวดอุตริเป็นผู้วิเศษกฎ 36 ข้อ 

พระราชบัญญัติพระราชกำหนดเก่า และพระราชกำหนดใหม่
          ประกอบด้วยกฎ 36 ข้อ พระราชบัญญัติ 22 ฉบับ พระราชกำหนดเก่า 65 ฉบับ เป็นกฎหมายใน
ส่วน “พระราชนิติศาสตร์ หรือพระราชนิติคดี” ที่พระมหากษัตริย์ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ในด้านการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน   การศาลยุติธรรม รวมทั้งแนวทางพระบรมราชวินิจฉัยคดีความต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยยกตัวอย่างคดีและข้อเท็จจริงในคดีตามที่เกิดขึ้นจริง  ตลอดจนพระบรมราชวินิจฉัยที่เกี่ยวข้อง แล้ววางเป็นกฎไว้ใช้บังคับต่อไป
          หลักอินทภาษ พระธรรมนูญ พระอัยการกรมศักดิ์ พระอัยการลักษณะรับฟ้อง พระอัยการลักษณะพยานพิสูจน์ด าน้ำลุย เพลิง พระอัยการลักษณะตุลาการ  พระอัยการลักษณะอุทธรณ์  พระอัยการลักษณะผัวเมีย พระอัยการทาส  พระอัยการลักษณะลักพาลูกเมียผู้คนท่าน  พระอัยการลักษณะมรดก พระอัยการลักษณะกู้หนี้ พระอัยการเบ็ดเสร็จ (เบ็ดเตล็ด) พระอัยการลักษณะวิวาทตีด่ากัน พระอัยการลักษณะโจร  พระอัยการอาชญาหลวงอาชญาราษฎร์  และพระอัยการกบฏ ศึก ล้วนแต่เป็นกฎหมายสาขาคดี ที่นำมูลคดีต่างๆ ตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ มาบัญญัติเป็นบทมาตราต่างๆ  กฎหมายส่วนนี้จึง เป็น “พระราชศาสตร์”
          ส่วนกฎมนเทียรบาล  พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือน พระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง กฎ
พระสงฆ์  กฎ 36 ข้อ พระราชบัญญัติ พระราชก าหนดเก่า และพระราชก าหนดใหม่  เป็นบทบัญญัติที่มิได้นำมูลคดีตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ มาเป็นหลัก กฎหมายส่วนนี้จึงเป็น “พระราชนิติศาสตร์ หรือพระราชนิติคดี”

การยกเลิก
  • กฎหมายตราสามดวงได้เป็นกฎหมายหลักของประเทศที่ใช้บังคับมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะเวลานานถึง 103 ปี จนกระทั่งมีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลตามแบบประเทศมหาอำนาจยุโรป จึงได้เลิกใช้กฎหมายตราสามดวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น