วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

โรค ที่มากับฝน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โรคที่มากับฝน




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          โรคหน้าฝน 6 โรคฮิตที่พบได้บ่อย ๆ ในช่วงหน้าฝนนี้ คือ โรคจากไวรัส คอติดเชื้อ ฉี่หนู อาหารเป็นพิษ ผิวหนังอักเสบ ไข้เลือดออก แพทย์แนะกินผัดผักบุ้ง แกงส้มมะละกอ น้ำเสาวรส ปรับสมดุลสุขภาพ

          ย่างเข้าสู่กลางปีแบบนี้ก็ได้เวลาเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยกันแล้ว ดังจะเห็นได้ว่าช่วงนี้ฝนเริ่มตกชุกขึ้น หลายคนจึงต้องตากฝนอย่างเลี่ยงไม่ได้ จนโรคภัยไข้เจ็บขาประจำของฤดูฝนถามหา และเพราะเหตุนี้ นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ จึงได้ออกมาเตือนให้ประชาชนระวังการสัมผัสน้ำฝนให้มากขึ้น เพราะในน้ำฝนมีสารปนเปื้อนและเชื้อโรคบางอย่างที่จะทำให้คุณเจ็บไข้ได้ป่วย โดยเฉพาะ 6 โรคยอดฮิตต่อไปนี้

           1. โรคจากไวรัส ทำให้เป็นหวัดคัดจมูกและเกิดอาการไข้ได้ โดยเฉพาะกลุ่มทารก ต้องระวังการถูกฝนให้มาก เพราะอาจเจ็บป่วยไม่สบาย จนถึงขั้นหลอดลมฝอยอักเสบ รวมทั้งโรคไข้หวัดใหญ่

           2. คอติดเชื้อ สังเกตได้จากจะเริ่มมีอาการเจ็บคอเป็นหลัก จากนั้นจะมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวตามมา บางรายมีน้ำมูกร่วมด้วย เกิดจากการเผลอกลืนน้ำฝนปนเปื้อนลงคอไปจนทำให้คออักเสบ

           3. ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เนื่องจากอาหารสดตามตลาดอาจได้รับเชื้ออีโคไลจากน้ำฝนที่ปนเปื้อน ซึ่งเชื้ออีโคไลนี้เป็นเชื้อที่ทำให้ลำไส้อักเสบติดเชื้อ จึงทำให้เกิดความผิดปกติในระบบย่อยอาหารตามมา

           4. ผิวหนังอักเสบ น้ำฝนที่ขังตามพื้นถนนนาน ๆ เข้าจะกลายเป็นน้ำเน่าเหม็น เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค หากกระเซ็นมาโดนตัวเราก็มีโอกาสเสี่ยงต่อผิวหนังอักเสบได้ ยิ่งไปกว่านั้น น้ำสกปรกยังอาจทำให้แผลติดเชื้อ เกิดเชื้อรา คัน เกิดตุ่มหนองและฝีได้ ดังนั้น แนะนำให้ล้างมือล้างเท้าบ่อย ๆ หลังจากกลับเข้าบ้าน

           5. โรคฉี่หนู เป็นอีกโรคหนึ่งที่ระบาดในช่วงฤดูฝนนี้ แพร่ระบาดได้ในพื้นที่ที่มีน้ำขัง เช่น ทุ่งนา ส่วนในเมือง หากฝนตกทำให้น้ำขังบนถนนออกมาผสมกับท่อระบายน้ำก็มีโอกาสติดเชื้อโรคดังกล่าวได้ แม้ในรายที่รื้อบ้านแล้วมีมูลหนูปนออกมาจนเผลอไปเหยียบเข้าผ่านจากผิวหนังที่เป็นแผลก็จะทำให้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดตามตัวโดยเฉพาะน่อง และเบื่ออาหาร

           6. ไข้เลือดออก โรคร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายจะเพาะพันธุ์ได้ดีในหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาท่วมขัง หากใครมีไข้สูงมาก ไข้ไม่ยอมลด เบื่ออาหาร รู้สึกอ่อนเพลีย เซื่องซึม ขอให้รีบไปพบแพทย์โดยสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรคไข้เลือดออกก็ได้


แกงส้มมะละกอ

          สำหรับวิธีป้องกันนั้น นพ.กฤษดา แนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงความเปียกชื้น หลังอาบน้ำสระผมควรเช็ดตัวให้แห้งอยู่เสมอ และหากกำลังมองหาอาหารที่เหมาะกับฤดูฝน ก็ขอแนะนำเป็นผัดผักบุ้ง, แกงส้มมะละกอ และน้ำเสาวรส จะช่วยปรับสมดุลสุขภาพได้ง่าย ๆ สไตล์อายุรวัฒน์





วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การสร้างแรงบันดาลใจ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสร้างแรงบันดาลใจ

  1. การตั้งเป้าหมาย  การเขียนเป้าหมาย การสร้างภาพความฝัน ที่ตนเองต้องการอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะตอนก่อนเข้านอน ในหนังสือเรื่องเดอะซีเคร็ต ได้แนะนำว่าในโลกนี้มีกฎแห่งการดึงดูด หากคุณหมกมุ่นครุ่นคิดเรื่องใดเป็นประจำคุณก็มักจะได้สิ่งนั้น ดังนั้นวิธีง่าย ๆ ก็จงคิดถึงมัน จึงฝันถึงมัน จงจินตนาการถึงเป้าหมายของเราบ่อย ๆ แล้วชีวิตของคุณก็จะเดินทางไปสู่เป้าหมายหรือความฝันของตนเองได้สำเร็จในที่สุด
  2. การอ่านหนังสือดี ๆ หนังสือที่ดีสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับเราได้ โดยเฉพาะกับคนบางคน ผู้นำของประเทศหลายคนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้อ่านเรื่องเรื่องของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ทางการเมือง ผู้นำประเทศเหล่านั้นจึงได้สร้างแรงบันดาลใจในตัวเองขึ้น เขาเหล่านั้นจึงเกิดความต้องการที่จะเป็นผู้นำประเทศเหมือนกับชีวประวัติของผู้นำในหนังสือบ้าง
  3. การฟังเทป ฟัง CD เรื่องราวเกี่ยวกับแรงจูงใจ- การฟังเรื่องราวที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ ก็เป็นสิ่งหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเราได้ เพราะในเทป หรือ CD จะเล่าเรื่องราวของบุคคลผู้ที่ประสบความสำเร็จ ว่าเขาทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จ ซึ่งหากเราฟังแล้วนำไปปฏิบัติ เราก็สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
  4. การเข้าอบรมสัมมนา- การอบรม การสัมมนา การประชุม เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจได้ เพราะในงานมักจะนำเอาบุคคลที่ประสบความสำเร็จมาพูด มาคุย อีกทั้งการสัมมนา จะทำให้เราทราบความเคลื่อนไหว ข่าวคราวของหน่วยงาน ของกิจการ ของประเทศ ซึ่งเป็นข่าวที่ใช้ในการทำงานของเราได้โดยตรง
  5. การเข้าร่วมกับกลุ่มที่มีจิตใจและแนวคิดเดียวกัน- ความต้องการเดียวกัน แนวคิดเดียวกัน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเราได้ เช่น หากว่าเราอยากเป็นนักธุรกิจเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จ เราก็ควรเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมหรือกลุ่มหรือชมรมนักธุรกิจเครือข่ายอาชีพ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งเมื่อเราได้รู้จักนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแล้ว เขาก็มักจะมีคำแนะนำดี ๆ ในการสร้างแรงบันดาลใจให้เราได้เป็นนักธุรกิจเครือข่ายมืออาชีพที่ประสบความสำเร็จในอนาคตได้เช่นกัน
  6. การหาแบบอย่างหรือบุคคลตัวอย่าง โดยเฉพาะบุคคลที่ประสบความสำเร็จหรือบุคคลที่เราอยากจะมีชีวิตแบบเขาก็เป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจขึ้นภายในตนเอง หากเราอยากมีชีวิตและอยากประสบความสำเร็จแบบไหนก็จงค้นหาบุคคลที่เข้าประสบความสำเร็จแบบนั้นแล้ว มาเป็นต้นแบบของเรา ศึกษาว่าเขามีแนวคิด แนวปฏิบัติอย่างไรจึงประสบความสำเร็จเราก็สามารถนำเอามาสร้างแรงบันดาลใจเพื่อต้นแบบสู่ความสำเร็จของเราได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

50 วิธีเอาชนะโรคเด็กสมาธิสั้น



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการสอนเด็กสมาธิสั้น                                                    ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วิธีการสอนเด็กสมาธิสั้น


50 วิธีเอาชนะโรคเด็กสมาธิสั้น
จาก จิตเวช รามาธิบดี
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปราโมทย์ สุคนิชย์


    add ย่อมาจากคำว่า attention deficit disorder หมายถึงโรคสมาธิสั้น
          ครูอาจารย์รู้หลายอย่างที่แพทย์ไม่รู้ นั่นก็คือ อาการของ ADD ปรากฏ ได้หลายแบบมาก ซ้ำยังเกิด ร่วมกับ ความผิดปกติอื่นๆ อีก เช่น learning disabilities หรือปัญหา ทางอารมณ์ ราวกับว่า ปัญหาของ ADD เปลี่ยนตาม สภาพอากาศ ไม่แน่นอน คาดการณ์ไม่ได้ แม้วิธีการรักษา ADD จะมี ปรากฏ ในหนังสือ มากมาย แต่ก็ยังคง เป็นงานยาก และหนัก กับผู้ปฏิบัติเสมอ
ไม่มีทางออกง่ายๆ สำหรับ การแก้ปัญหา ของ ADD ในห้องเรียน หรือที่บ้าน ความสำเร็จ ของการรักษา ในโรงเรียน ขึ้นอยู่กับ ความรู้ และความหนักแน่น สม่ำเสมอ ของครู และโรงเรียน เป็นอย่างมาก

         ต่อไปนี้เป็นเคล็ดบางประการในการช่วยเด็ก ADD ในโรงเรียน โดยมุ่งให้ครูอาจารย์ช่วยเด็กได้ ในทุกวัย แต่ครูอาจเห็นว่า บางข้อเหมาะสำหรับเด็กบางวัยมากกว่า อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่อง การมีกรอบการให้ความรู้ และการชักจูงสนับสนุน ยังคงเป็น แนวคิดหลักเสมอ
1) ข้อแรกคือ ท่านต้องมั่นใจว่าท่านกำลังช่วยเด็ก ADD มิใช่เป็นปัญหาของการได้ยิน การมองเห็น 

2) หาผู้สนับสนุนท่านคือโรงเรียนและผู้ปกครอง การมีเด็ก ADD อยู่ในชั้น 2-3 คนก็เป็นเรื่องเหนื่อย มากอยู่แล้ว หาผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษา
ได้ เช่น นักการศึกษาพิเศษ จิตแพทย์เด็ก นักจิตวิทยาประจำ โรงเรียน หรือกุมารแพทย์ หาความร่วมมือจากผู้ปกครอง และหาเพื่อนครูมาช่วย 

3) จงรู้จักข้อจำกัดของตนเอง อย่ากลัวที่จะขอความร่วมมือ ครูคงไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง ADD 

4) ถามเด็กว่าจะให้ช่วยอย่างไร เด็กเหล่านี้มักบอกได้ว่า อยากให้ท่านช่วยอย่างไรเมื่อถูกถาม อย่า อายที่จะถามเด็ก พยายามหาเวลาคุยกับเด็กตามลำพังและถามเขา คนที่ตอบได้ดีที่สุดเสมอคือตัว เด็กเอง ซึ่งเรามักละเลยมองข้ามไม่ถามจากเขา ในเด็กโตควรช่วยให้เด็กเข้าใจด้วยว่า ADD คือ อะไร ซึ่งจะช่วยท่านได้มาก

5) ระลึกเสมอว่า การมีกรอบจะช่วยเด็ก ADD กรอบคือสิ่งรอบตัวที่ช่วยควบคุมตัวเขา เพราะเขาคุม ตน เองไม่ได้ การมีตารางเวลาหรือรายการสิ่งที่ต้องทำช่วยเด็ก ADD ที่หลงออกไปกลับเข้ากรอบได้ พวกเขาต้องการสิ่งเตือน ต้องการการแนะ ต้องการการย้ำ ต้องการคำสั่ง ต้องการคนให้ ขีดจำกัด และต้องการกรอบที่ชัดเจนแน่นอน 

6) อย่าลืมการเรียนกับความรู้สึก เด็กเหล่านี้ต้องการห้องเรียนที่สนุก รู้สึกว่าเขาทำได้ ไม่ใช่ล้มเหลว ต้องการความตื่นเต้นมากกว่าความเบื่อหรือความกลัว ควรให้ความสนใจกับเรื่องความรู้สึกคู่ไป กับการเรียนเสมอ 

7) ให้เด็กเขียนกฎ ข้อตกลง แล้วติดในที่ที่มองเห็นได้ เป็นการแสดงให้เขารู้ว่า เขาควรทำอะไรบ้าง

8) ย้ำคำสั่ง เขียน พูดคำสั่งหลายๆครั้ง คนที่เป็น ADD ต้องการให้คนพูดย้ำหลายๆครั้ง

9) พยายามสบตาเด็กบ่อยๆ ซึ่งจะเป็นวิธีดึงเด็กกลับมาจากความคิดวอกแวก ทั้งเป็นการให้ขั้นตอน เด็กว่าถามได้ หรือแสดงว่าท่านสนใจเขาอยู่

10) ให้เด็กนั่งใกล้โต๊ะ หรือที่ที่ท่านยืนอยู่มากที่สุด 

11) ให้ขอบเขตและข้อจำกัด โดยวิธีละมุนละม่อม ไม่ใช่ลงโทษ ทำอย่างสม่ำเสมอ ทุกครั้ง ทันท่วงที และง่ายๆ ไม่ต้องเข้าไปถกเถียงกับเด็กมากมายเหมือนทนายทำในศาล การพูดยิ่งยาวยิ่งไม่ได้ผล 

12) ทำตารางเวลาให้สม่ำเสมอที่สุดที่ทำได้ ติดตารางบนโต๊ะเด็กหรือกระดาน ชี้ให้เด็กเห็นบ่อยๆ ถ้า ท่านจะเปลี่ยนตาราง ควรเตือนให้เด็กทราบก่อนหลายครั้ง การเปลี่ยนโดยไม่บอกล่วงหน้าทำให้ เด็กปฏิบัติตัวยากจนเหมือนไม่ร่วมมือ

13) พยายามให้เด็กจัดตารางเวลา หลังเลิกเรียนของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งที่เกิดขึ้นมากของเด็ก ADD คือการผัดผ่อน 

14) พยายามลดการทดสอบย่อยๆกับเด็กเหล่านี้ เพราะไม่สามารถวัดความรู้จากเด็ก ADD ด้วยวิธีนี้ ได้ 

15) ปล่อยให้เด็กมีอิสระบ้าง เช่นให้ออกนอกห้องเป็นครั้งคราว ดีกว่าจำกัดไว้ แล้วเด็กหนีหายไปเลย เขียนไว้เป็นกฎ แล้วให้เด็กหัดควบคุมตนเอง 

16) ให้การบ้านที่มีคุณภาพมากกว่าปริมาณ เด็ก ADD อาจทำไม่ได้มากเท่าคนอื่น ควรสอนวิธีคิดให้ เด็กในระยะเวลาเรียนเท่าเดิม แต่ไม่ให้งานมากจนเด็กทำไม่ได้

17) ติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด และช่วยเตือนให้เด็กอยู่กับร่องกับรอย เขาจะรู้ว่าเขาควรทำอะไร และหากทำตามเป้าหมายได้ จะเป็นสิ่งที่ให้กำลังใจเด็กอย่างมาก 

18) ย่อยงานใหญ่ๆให้เป็นงานย่อยๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการที่ครูจะสอนลูกศิษย์ ADD ได้ เด็ก ADD เมื่อเผชิญกับงานใหญ่มากๆ จะท้อก่อนทำว่า ฉันไม่มีทางทำได้” แต่หากย่อยงานใหญ่มากๆ จะ เป็นงานย่อยๆที่เขารู้สึกทำได้ จะช่วยให้เขามั่นใจขึ้น โดยทั่วไปเด็กมีความสามารถที่จะทำงานได้ มากกว่าที่เขาคิดเองอยู่แล้ว แต่การย่อยงานให้เขาทำ จะช่วยพิสูจน์สิ่งนี้แก่เขา ในเด็กเล็กวิธีช่วย ให้เด็กหงุดหงิดอาละวาดลดลงได้มาก แต่ในเด็กโต ความรู้สึกเป็นคนแพ้จะลดลง ท่านควรทำเช่นนี้เป็นประจำ 

19) ทำตัวในรื่นเริง ง่ายๆมีอารมณ์ขัน หาสิ่งแปลกใหม่เรื่อยๆเพื่อทำให้เด็กกระตือรือร้น และคง ความสนใจ เด็กเหล่านี้มีชีวิตชีวา ชอบเล่น เกลียดสิ่งน่าเบื่อ รวมทั้งกฎเกณฑ์ ตาราง รายการ และครูที่น่าเบื่อ ควรแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าเบื่อ จงลองทำตัว สนุกๆเป็นครั้งคราว จะช่วยได้มาก 

20) ป้องกันการเกิดสิ่งเร้าที่มากเกินไป เด็ก ADD เหมือนหม้อตั้งไฟมีโอกาสเดือดล้นได้ตลอดเวลา หากเห็นห้องไม่มีระเบียบ จัดการเสียตั้งแต่ต้น อย่ารอให้เป็นจลาจล 

21) หาสิ่งสำเร็จเล็กๆน้อยๆ ในตัวเขาเสมอ เด็กเหล่านี้เคยพบแต่ความล้มเหลว และเขาต้องการคน ให้กำลังใจ แต่อย่าทำจนเกินไป เด็กต้องการและได้ประโยชน์จากคำชม การให้กำลังใจ เหมือน ให้น้ำกับคนกระหาย หากมีน้ำก็รอดและเติบโต หากขาดน้ำมีแต่จะแย่ลง บ่อยครั้งที่ความเสียหายจาก ADD เองไม่รุนแรงเท่าความเสียหายจากความไม่มีความมั่นใจในตนเองให้น้ำแต่พอดีแล้วเด็กจะสำเร็จ 

22) เด็กเหล่านี้มักมีปัญหาความจำ ช่วยเด็กโดยแนะเคล็ดการช่วยจำ เช่น การย่อ ทำรหัส ผูกเป็น โคลง ทำสัญลักษณ์ หาเสียงคล้ายกัน จะช่วยเด็กได้มาก 

23) สอนเด็กในการจำหัวข้อ ขีดเส้นใต้ ซึ่งเด็ก ADD มักไม่ทำ ถือเป็นการช่วยเตือนสติเด็กให้เรียนได้ ขณะกำลังเรียน อยู่จริง ซึ่งสำคัญที่สุกกว่าการให้ไปเรียนพิเศษเพิ่มทีหลัง

24) บอกเด็กก่อนว่าจะพูดถึงเรื่องอะไรต่อไป บอกหัวข้อ แล้วค่อยตามด้วยเนื้อเรื่อง เด็ก ADD มัก เรียนจากการมองเห็นได้มากกว่าการฟัง ท่านอาจพูดไปเขียนไป เหมือนช่วยเติมกาวให้ความจำ 

25) ใช้คำสั่งง่ายๆ ให้ทางเลือกง่ายๆ ให้ตารางง่ายๆ ยิ่งง่ายยิ่งเข้าใจได้ดี ใช้ภาษาให้น่าสนใจ เหมือน มีสีสัน จะช่วยดึงความสนใจ 

26) เตือนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเอง ซึ่งเด็กเหล่านี้มักไม่สามารถติดตามได้ว่าตนเองกำลังคิดหรือทำ อะไร การเตือนควรใช้คำถามที่สร้างสรร เช่น เมื่อกี้ หนูเพิ่งทำอะไร” “ถ้าให้ลองพูดอีกครั้งหนู จะพูดใหม่ว่าอะไร” “ทำไมหนูถึงว่าเด็กคนนั้นหน้าเสียตอนหนูพูดอย่างนั้น” คำถามเหล่านี้จะ ช่วยให้เขาสังเกตตนเองเป็น 

27) ทำสิ่งที่คาดหวังจากเด็กให้ชัดเจน 

28) การให้สะสมคะแนนเอารางวัล เป็นส่วนช่วยในการควบคุมพฤติกรรม เด็ก ADD ตอบสนองดีกับ การให้การจูงใจและรางวัล เขาชอบการท้าทาย 

29) ถ้าเด็กเข้าใจภาษากาย เช่น ท่าทางน้ำเสียงหรือกาลเทศะ ได้จาก ควรช่วยเด็กให้เข้าสังคม ได้ง่ายขึ้น เช่น สอน ก่อนที่หนูจะเล่าเรื่องให้คนอื่นฟัง ถามว่าเขาอยากเล่าอะไรก่อน” “มอง หน้าคนอื่นด้วยในเวลาพูด” เด็ก ADD มักถูกมองว่า หยิ่ง เห็นแก่ตัว ซึ่งที่จริงเขาไม่รู้วิธีเข้า สังคม ทักษะพวกนี้แม้ไม่ได้ติดตัวมาแต่เกิด แต่ก็สอนได้

30) สอนวิธีการทำข้อสอบให้เด็ก 

31) ทำการเรียนให้เหมือนเล่นเกมส์ การสร้างแรงจูงใจช่วย ADD ได้มาก 

32) แยกเด็ก ADD ออกจากกัน ไม่ให้เป็นคู่หรือกลุ่ม เพราะมักทำให้เด็กแย่ลง 

33) ให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วม เด็กเหล่านี้อยากเข้าร่วมและมีปฏิสัมพันธ์ ตราบใดที่เด็กอยู่ใน ภาวะที่มีส่วนร่วม เด็กจะอยากทำและไม่วอกแวก 

34) มอบความรับผิดชอบให้เด็กทำเองเสมอเมื่อเป็นไปได้ 

35) ลองทำบันทึกจากบ้าน โรงเรียน บ้าน ทุกวัน เพื่อช่วยให้ครูและผู้ปกครองเข้าใจกัน และช่วยให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ 

36) ลองทำรายงานประจำวัน 

37) ช่วยเด็กให้ทำรายงาน และให้เด็กสังเกตตนเอง แล้วพบอาจารย์หลังเลิกเรียนทุกวัน 

38) จัดเวลาพักสบายให้เด็กไว้ โดยให้เด็กทราบล่วงหน้าเพื่อเด็กจะได้เตรียมใจ การให้เวลาพักโดย เด็กไม่ได้คาด จะทำให้เด็กตื่นเต้นและถูกกระตุ้นมากเกินไป 

39) พึงชมเชย ให้กำลังใจ ยอมรับ ทำให้เด็กรู้สึกมีคุณค่าเสมอ 

40) สำหรับเด็กโต ให้เด็กจดคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างฟังไว้ นอกเหนือจากจดสิ่งที่ครูพูดให้ฟัง จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น 

41) ลายมือเด็กเหล่านี้ อาจไม่ดีนัก ให้เด็กหัดใช้แป้นพิมพ์ หรือตอบคำถามปากเปล่าบ้าง 

42) ทำตัวเหมือนผู้ควบคุมวงดนตรี ทำให้ลูกวงสนใจก่อนเริ่มเล่น โดยอาจทำตัวเงียบ เคาะโต๊ะ แบ่ง เวลาให้แต่ละคนในห้อง โดยอาจชี้ให้เด็กช่วยตอบ

43) จัด คู่หู” เพื่อนช่วยเรียน และให้เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อไว้ 

44) ช่วยอธิบาย ทำให้การรักษาดูเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อลดความอายของเด็ก

45) พบผู้ปกครองบ่อยๆ ไม่ใช่พบแต่เมื่อเกิดปัญหา 

46) ให้อ่านออกเสียงที่บ้าน และในห้องเรียนเท่าที่เป็นไปได้ อาจให้อ่านนิทาน จะช่วยให้เด็กมี ทักษะในการคงความสนใจอยู่กับเรื่องๆเดียวได้ 

47) พูดย้ำ ย้ำ และย้ำ 

48) การออกกำลังกาย ช่วย ADD ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะ การออกกำลังกายหนักๆ เพราะช่วย ทำลายพลังงานส่วนเกิน ช่วยให้มี
สมาธิ และเป็นการกระตุ้นสารต่างๆในร่างกายซึ่งเป็น ประโยชน์และสนุก และเขาจะทำตลอดไป

49) สำหรับเด็กโต ช่วยเด็กเตรียมตัวเรียนสำหรับวันรุ่งขึ้น โดยคุยกับเด็กว่าเขาจะเตรียมตัวอย่างไร 

50) มองหาส่วนดีที่ปรากฏขึ้นในเด็กเสมอ เด็กเหล่านี้มักฉลาดกว่าที่เราเห็น มีความสร้างสรรค์ ขี้เล่น และเป็นกันเอง เขาพยายาม
จะ กลับ” มาสู้เสมอ เขาต้องการกำลังใจและดีใจที่มีคนช่วย จำไว้ ว่าต้องมีทำนองก่อนจะเขียนโน้ตประสานเสียงเสมอ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การคิดบวก

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การคิดบวก




การคิดบวกคืออะไร
            
          จากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยาบุคลิกภาพและสังคมของสหรัฐอเมริกาเผยว่า การคิดบวกเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ตัวเองมีความสุข โดยที่การคิดบวกนั้นไม่ใช่การคิดหาคำตอบว่าอะไรถูกหรือผิด แต่เป็นการคิดเพื่อให้เราได้เข้าใจในสิ่งที่กำลังเป็นไป หลายคนเข้าใจว่าการคิดบวกต้องอาศัยหลักการทางจิตวิทยาเข้าช่วย แต่ความจริงแล้วตัวเราเองก็สามารถเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นคนคิดบวกได้ตลอดเวลา  


 
8 สิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราคิดบวก

          เป็นที่รู้กันดีว่าการคิดบวกคือการทำให้ตัวเองมีความสุข แต่ความจริงแล้วยังส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจอีกด้วยนะ โดยเฉพาะสิ่งดี ๆ ต่อไปนี้ที่จะเกิดขึ้นกับเราแน่นอนเมื่อเปลี่ยนตัวเองให้คนคิดบวก

 เราจะมีระบบไหลเวียนโลหิตเป็นปกติ
                
          การคิดบวกจะทำให้เรารู้สึกอยากทำในสิ่งดี ๆ เช่น กินอาหารสุขภาพ ออกกำลังกาย และไม่เครียด ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตของเราทำงานเป็นปกติ ไม่เสี่ยงเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด เช่น หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง  และโรคความดันโลหิตสูง
 
 เราจะมีไขมันดีมากกว่าไขมันเลวในร่างกาย
                
          ผลการทดสอบของมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดในปี 2013 ที่ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร The American Journal of Cardiology  เผยว่าการคิดบวกช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกายได้ เห็นได้จากการทดสอบกับกลุ่มอาสาสมัครวัยกลางคน อายุระหว่าง 40-70 ปี ประมาณ 990 คน ที่ทำแบบทดสอบความสุขจากพฤติกรรมประจำวัน ผลคือ อาสาสมัครส่วนใหญ่มีความสุขในชีวิตประจำวันของตัวเองดี เมื่อตรวจร่างกายพบว่ามีระดับไขมันดีสูงกว่าไขมันเลว สาเหตุเป็นเพราะคนที่มีความสุขดีในชีวิตมักจะเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าคนที่มีความเครียด
 
 เราจะมีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่แข็งแรงขึ้น
            
          การคิดบวกเป็นการกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายทำงานเป็นปกติ เกิดการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย รวมถึงการนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานที่ส่งผลให้เราแข็งแรงขึ้น เห็นได้จากคนที่ร่าเริง แจ่มใสมักไม่ค่อยเจ็บป่วยง่าย  
 
 เราจะมีสุขภาพกายและใจที่สมดุล
             
          ผลการวิจัยส่วนใหญ่เผยว่า คนที่มองโลกในแง่ดีมักมีสุขภาพกายและใจดีตามไปด้วย เพราะพวกเขามีเคล็ดลับอยู่เพียงสิ่งเดียวคือ การทำตัวเองให้มีความสุขด้วยการหากิจกรรมทำไม่ปล่อยให้ตัวเองอยู่ว่าง ๆ  เช่น ออกกำลังกาย การปลูกดอกไม้ การสนทนากับเพื่อนบ้าน ออกกำลังกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวขับเคลื่อนให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย เพราะเมื่อสุขภาพจิตดี ร่างกายก็แข็งแรงตามไม่ด้วย ไม่เจ็บป่วยง่าย และก็ไม่ต้องกินยาใด ๆ  
 
 เราจะกลายเป็นคนไม่ค่อยเครียดกับอะไรง่าย ๆ   
            
          คนที่มองโลกในแง่ดีเมื่อมีปัญหามักจะรับมือได้ดีกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย ส่วนหนึ่งมาจากการที่พวกเขาเชื่อว่าทุกสิ่งจะดีขึ้นได้ เดี๋ยวก็จะผ่านไป ทำให้พวกเขาแก้ปัญหาด้วยความใจเย็นมากกว่า
 
 เราจะกลายเป็นคนร่าเริง แจ่มใสน่าเข้าใกล้
                
          การมองโลกในแง่ดีช่วยเปลี่ยนภาพลักษณ์ของตัวเราให้กลายเป็นคนนิสัยน่ารักมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราจะมีทัศนคติที่เปิดกว้างรับฟังคนอื่น ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอด ดูเป็นคนอารมณ์ดี ทำให้ใคร ๆ ก็มองว่าเรานิสัยดีน่าเข้ามาทำความรู้จัก
 
 เราจะรับมือได้หมดทุกปัญหา
                
          การมองโลกในแง่ดีจะทำให้เรามีสติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล  จากผลการวิจัยเผยว่าการมองโลกในแง่ดีทำให้เราไม่รีบร้อนตัดสินเรื่องราวที่อยู่ตรงหน้า เราจะไม่คิดฟุ้งซ่านเติมแต่งปัญหาให้ใหญ่โตขึ้น และเราจะมีสติมองออกว่าแก่นแท้ของปัญหานั้นอยู่ตรงไหน ทำให้เราสามารถค้นพบทางออกของปัญหาได้อย่างง่ายดาย
 
 เราจะมีอายุยืน

          ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอนได้ทำการทดสอบเรื่องการคิดบวกสัมพันธ์กับการมีอายุยืนอย่างไร โดยได้ทำทดสอบกับกลุ่มอาสาสมัครที่มีอายุยืนเกินร้อยปีขึ้นไปประมาณ 243 คน ด้วยการให้ทำแบบสอบถามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ผลปรากฏตรงกันว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่มักมีไลฟ์สไตล์ชอบท่องเที่ยว ชอบเดินทางไปเปิดหูเปิดตาต่างถิ่น พวกเขาเชื่อว่าการเดินทางทำให้เรียนรู้อะไรมากขึ้น ได้พบเห็นโลกในมุมที่กว้างขึ้น ปล่อยวางอะไรได้มากขึ้น และทั้งหมดนี้ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นคนคิดบวกขึ้นนั่นเอง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การคิดบวก






พลังแห่งการคิดบวกบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้  

          จากผลการวิจัยในปี 1990 เผยว่าคนที่มองโลกในแง่ร้ายมักจะมีอาการป่วยทั้งร่างกายและจิตใจ สาเหตุหลักมาจากการที่สุขภาพจิตใจอ่อนแอ ดังนั้นใครที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังไม่ยอมหายสักที ลองมาเช็กตัวเองว่าอาการป่วยที่มักเกิดบ่อย ๆ นั้น ติดอันดับ 1 ใน 15 อาการป่วยที่มาจากการคิดติดลบหรือเปล่า ถ้าใช่ รีบปรับทัศนคติตัวเองเสียใหม่ด่วนเลยนะจ๊ะ   

           มีอาการกล้ามเนื้อตึง เส้นยึดบ่อย

           มีอาการปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ

           มักจะปวดหัวบ่อย

           มีอาการเจ็บหน้าอกโดยไม่ทราบสาเหตุ

           สมรรถภาพทางเพศลดลง

          . นอนไม่หลับ และมีปัญหาเรื่องการนอนหลับในตอนกลางคืน

           มีอาการของระบบย่อยอาหารไม่ปกติ เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น

           อ่อนเพลียง่าย

           อารมณ์แปรปรวน

           มีความรู้สึกกังวล หดหู่ และเศร้าซึมบ่อย

           รู้สึกว้าวุ่นใจเหมือนมีเรื่องที่ยังคิดไม่ตก  

           โกรธง่าย ฉุนเฉียวบ่อย

           รู้สึกไม่อยากทำอะไรเลย ไม่อยากเข้าสังคม อยากอยู่คนเดียวเงียบ ๆ

           พฤติกรรมการกินไม่เป็นปกติ เช่น กินน้อยกว่าปกติ หรือกินจุกว่าปกติ

           โมโหร้ายกว่าปกติ เช่น สบถคำหยาบออกมาบ่อย ๆ ทำร้ายผู้อื่น




10 วิธีง่าย ๆ ฝึกตัวเองให้เป็นคนคิดบวก
 
          เมื่อได้ทราบถึงข้อดีของการคิดบวกแล้ว ลองมาดูกันหน่อยดีไหมว่าจะเริ่มเป็นคนคิดบวกได้อย่างไร จากคำแนะนำของผลการวิจัยเรื่องการเปลี่ยนตัวเองให้คิดบวก ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Psychology เมื่อปี 2006 ที่เผยว่า คนบนโลกนี้มีอยู่สองประเภทใหญ่ ๆ คือ พวกที่คิดมาก กับพวกที่ไม่ค่อยคิดอะไร ซึ่งถือว่าเป็นลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันมาก แต่เมื่อนักวิจัยได้ลองวิเคราะห์นิสัยของคนทั้งสองกลุ่มแล้วกลับค้นพบว่าพวกเขามีวิธีจัดการอารมณ์ด้านลบที่คล้าย ๆ กัน นั่นคือ หาสิ่งที่ทำให้ตัวเองมีความสุขมากขึ้น ดังนั้นเรามาลองเรียนรู้วิธีเปลี่ยนตัวเองให้คิดบวกจากกลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้กันดู ว่ามีวิธีไหนที่เราสามารถทำตามได้บ้าง   

 ไม่ทำตัวโลกสวยเกินไป
                
          การคิดบวกและการมองโลกในแง่ดีในที่นี้ไม่หมายความว่าให้เราทำตัวโลกสวย มองอะไรโรยด้วยกลีบกุหลาบไปทุกอย่าง แต่เป็นการปรับมุมมองของเรา อะไรที่คิดติดลบมากเกินไปก็ปรับให้เป็นกลางขึ้นหน่อย  และอะไรที่คิดบวกมากเกินไปก็ปรับให้พอดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีคนเข้ามาจีบ เราก็อย่าเพิ่งมองโลกในแง่ดีว่าเขาเป็นคนดี จริงใจกับเรา ให้เผื่อใจเอาไว้บ้าง เป็นต้น

 ไม่ตัดสินอะไรง่าย ๆ เพียงแค่ตาเห็น
                
          การเริ่มต้นคิดบวกควรมาจากความคิดที่เป็นกลาง ดังนั้นเวลาที่เห็นอะไรไม่ถูกใจ ก็อย่าเพิ่งเหมารวมไม่ว่ามันไม่ดี ให้เข้าใจไปตามสิ่งที่เห็นอย่าใส่ความรู้สึกส่วนตัว อย่าลืมว่าการคิดบวกไม่มีถูกผิดนะจ๊ะ

 ผูกมิตรกับเพื่อนที่นิสัยร่าเริง คิดบวกเข้าไว้  

          ความรู้สึกที่ดี จะนำมาซึ่งความคิดดี ๆ ดังนั้นควรมองหามิตรแท้ที่นิสัยร่าเริงแจ่มใสไว้สักคน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดด้านดี หากอยู่กับคนซีเรียส จริงจังกับชีวิตมากไป เราก็คิดบวกไม่ได้สักที จากผลการวิจัยส่วนใหญ่เผยว่า ความเครียดเป็นอารมณ์ติดต่อจากอีกคนหนึ่งได้ โดยที่ตัวเรามักไม่รู้ตัวเลยว่าทัศนคติของตัวเองจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปทีละนิด จนกระทั่งพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างชัดเจนว่านิสัยเปลี่ยนไป ดังนั้นหากอยากเริ่มเป็นคนคิดบวก ก็ให้เดินเข้าไปผูกมิตรกับคนที่มองโลกในแง่ดี เพราะคนเหล่านั้นจะมีมุมมองความคิดที่เปิดกว้างกว่าพวกซีเรียส จริงจังกับชีวิต  

 หมั่นคุยกับตัวเอง

          คนที่คิดบวกมักจะคุยกับตัวเองอยู่เสมอ ในที่นี้หมายถึงการพิจารณาตัวเองว่ามีด้านลบกับเรื่องอะไร แล้วในแต่ละวันรู้สึกแย่อะไรบ้าง เมื่อเขาเรียงลำดับความคิดด้านลบได้ ก็จะทำการเปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่ บอกกับตัวเองว่าพรุ่งนี้ต้องมองโลกในแง่ดีมากขึ้นกว่าเดิม และฝึกพูดประโยคเชิงบวก เช่น ฉันสามารถเรียนรู้ได้ ฉันจะต้องลองทำดูก่อน หรือ ฉันคิดว่าปัญหานี้ต้องมีทางออก เป็นต้น

 เขียนถึงสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน 
 
          เป็นวิธีที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากขึ้น เพียงแค่สละเวลา 5 นาทีก่อนนอน ทบทวนถึงเหตุการณ์ที่ตัวเองคิดว่าดีที่สุด แล้วเขียนบันทึกลงไปสั้น ๆ เช่น วันนี้จับฉลากปีใหม่ได้ของที่อยากได้อยู่พอดี เป็นต้น จากผลการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Research in Personality เผยว่า การเขียนบันทึกส่งผลดีต่อสุขภาพของเรา โดยเฉพาะการบันทึกประสบการณ์ที่ดี ๆ เพราะเมื่อไรที่เราเขียนบันทึกเรื่องราวลงบนหน้ากระดาษได้ ก็แสดงว่าสมองของเรามีการจดจำแต่สิ่งที่ดี ๆ แล้วยิ่งถ้าจดบันทึกเป็นประจำทุกวัน สมองของเราก็จะเก็บเกี่ยวเรื่องราวดี ๆ เอาไว้เพื่อมาเขียนบันทึกโดยอัตโนมัติเลยล่ะ



 หัวเราะ
            
          หลายคนไม่เคยสังเกตตัวเองว่าวันหนึ่ง ๆ หัวเราะมากน้อยเท่าไร ทั้งที่ความจริงแล้วการหัวเราะเป็นสิ่งที่สะท้อนอารมณ์ได้ดีว่ากำลังมีความสุขอยู่หรือไม่ อีกทั้งยังเป็นการปรับอารมณ์ด้านลบให้ดีขึ้นด้วย  ดังนั้น ถ้าหากงานเครียดมากทั้งวัน ลองสละเวลาสัก 20 นาทีให้กับสิ่งบันเทิงเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หนังตลก หนังสือการ์ตูน พูดคุยกับเพื่อนสนิท วาดภาพ ร้องเพลง เป็นต้น หากทำให้ได้ทุกวันแบบนี้รับรองว่าความเครียดไม่สะสมอยู่ในจิตใจแน่นอน

 นั่งสมาธิ
            
          ผลการวิจัยล่าสุดเผยว่า คนที่นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันมีแนวโน้มเป็นคนมองโลกในแง่ดีมากกว่าคนที่ไม่เคยนั่งเลย ส่วนหนึ่งมาจากประโยชน์ของการนั่งสมาธินั่นเอง เพราะการนั่งสมาธิเป็นการฝึกจิตใจให้ปล่อยวางความคิด ฝึกสมองไม่ให้คิดฟุ้งซ่าน เราก็จะรู้ทันอารมณ์ของตัวเองว่ากำลังสุขหรือทุกข์ และถ้านั่งสมาธิเป็นประจำทุกวันร่างกายและจิตใจของเราก็จะไม่เก็บอารมณ์แย่ ๆ หรือเรื่องราวไม่ดีมาจำฝังใจ ผลคือเรามีความสุข จิตใจแจ่มใส นั่นเอง ดังนั้นลองทำดูนะคะ สละเวลาวันละ 5-10 นาทีก็ยังดี ใครที่ไม่ถนัดการนั่งสมาธิก็ใช้วิธีทำโยคะก็ได้

 เปลี่ยนนิสัยเป็นคนยืดหยุ่น ออมชอมกับผู้อื่นให้มากขึ้น  

          การจะเปลี่ยนตัวเองให้คิดบวกได้ ส่วนหนึ่งต้องเริ่มมาจากตัวเองเสียก่อน คือ เปลี่ยนความคิดที่ทุกอย่างต้องเป๊ะ มาเป็นคิดยืดหยุ่นบ้าง เพราะความคาดหวังคือสิ่งอาจทำให้เราเสียใจ มองโลกในแง่ร้ายขึ้นมาได้ ดังนั้นลองฝึกให้ตัวเองมีความคิดที่ยืดหยุ่นบ้าง จะได้ไม่รู้สึกเครียดว่าอะไร ๆ ก็ไม่ได้ดั่งใจ

 อย่ากังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด

          ความกลัวก็เป็นอุปสรรคที่ทำให้เรามองโลกในแง่ดีไม่ได้ เพราะสมองยังยึดติดอยู่กับความรู้สึกที่ว่า “กลัวว่าจะ…” ทั้งที่ความจริงอาจจะไม่เกิดตามที่เราคิดก็ได้ ดังนั้นเปลี่ยนความคิดของตัวเองให้ปล่อยวางกับเรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้น อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด

 ฝึกตัวเองให้ยิ้มง่ายขึ้น

          การยิ้มเป็นสิ่งพื้นฐานที่ช่วยให้ตัวเราเองรู้สึกมีความสุข ดังนั้นไม่ว่าจะมีเรื่องที่ทำให้ยิ้มไม่ออกก็ตาม ยังไงก็ขอให้ยิ้มแย้มเอาไว้ก่อน แทนที่จะระบายด้วยการปล่อยคำพูดแย่ ๆ ออกมา 
 
          เห็นไหมละคะว่าพลังของการคิดบวกน่ะสุดยอดแค่ไหนสามารถทำให้สุขภาพกายและใจของเราแข็งแรงอยู่เสมอ  แต่ถึงแม้ว่าวันคิดบวกโลกจะผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อ 13 กันยายนที่ผ่านมานี้ เราก็ยังสามารถทำทุก ๆ วันให้เป็นวันคิดบวกได้ แค่ลองเปิดใจให้กว้างใส่ใจกับสิ่งรอบตัวมากขึ้น เพียงเท่านี้ก็เราก็มีความสุขในทุก ๆ วันแล้ว  

 



เรียบเรียงโดย  กระปุกดอทคอม   

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
cnn.com 
huffingtonpost.com 
healthambition.com 
self-realization.com 
pgeveryday.com