กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก
กฎหมายเกี่ยวกับเด็กในประเทศไทยปรากฏอยู่ในประมวลกฏหมายหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
กฎหมายเกี่ยวกับเด็กในประเทศไทยปรากฏอยู่ในประมวลกฏหมายหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์
ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้กำหนดหลักการพื้นฐานสำหรับเด็กที่จะต้องได้รับการคุ้มครอง
ได้รวม 4 ประการ คือ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาส่งเสริม สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง
สิทธิที่จะได้มีส่วนร่วม และได้กำหนดให้องค์การต่าง ๆของสังคมที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลเด็ก ปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1) หน้าที่ของผู้ปกครอง ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1. อุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน
1) หน้าที่ของผู้ปกครอง ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1. อุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน
และพัฒนา ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณี
และวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
2. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน โดยไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
3. ไม่ทอดทิ้งเด็ก ผู้ปกครองจะต้องไม่ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล สถานที่สาธารณะ
2. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน โดยไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายต่อสภาพร่างกายและจิตใจ
3. ไม่ทอดทิ้งเด็ก ผู้ปกครองจะต้องไม่ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล สถานที่สาธารณะ
หรือสถานที่ใด ๆโดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กคืน
4. ไม่จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตของเด็ก เช่น ด้านสุขภาพ อนามัย ปัจจัยสี่ เป็นต้น
5. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
6. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
2) หน้าที่ของรัฐ ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือมไม่มีผู้ปกครองก็ตาม
2. ดูแลและตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็กต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์เด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
4. ไม่จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตของเด็ก เช่น ด้านสุขภาพ อนามัย ปัจจัยสี่ เป็นต้น
5. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก
6. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
2) หน้าที่ของรัฐ ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
1. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือมไม่มีผู้ปกครองก็ตาม
2. ดูแลและตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็กต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์เด็ก สถานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
และเยาวชน สถานพินิจที่ตั้งอยู่ในเขตอำนาจ เป็นต้น
กฎหมายไทยกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในกรณีต่อไปนี้
1. เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า
2. เด็กถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง
3. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ เช่น ถูกทารุณกรรม
4. เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดู
5. เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรืออาชีพไม่เหมาะสม
6. เด็กพิการ
7. เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8. เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำเป็นที่จะต้องได้รับการสงเคราะห์ตามกฎของกระทรวง
นอกจากนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ยังได้กำหนดมาตรการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน
กฎหมายไทยกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กในกรณีต่อไปนี้
1. เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า
2. เด็กถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง
3. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ เช่น ถูกทารุณกรรม
4. เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดู
5. เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรืออาชีพไม่เหมาะสม
6. เด็กพิการ
7. เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8. เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำเป็นที่จะต้องได้รับการสงเคราะห์ตามกฎของกระทรวง
นอกจากนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ยังได้กำหนดมาตรการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน
และนักศึกษาไว้ดังนี้
1. โรงเรียนและสถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรม
1. โรงเรียนและสถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรม
แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความ
ปลอดภัยแก่นักเรียน นักศึกษา
2. นักเรียน นักศึกษา จะต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหากฝ่าฝืน
2. นักเรียน นักศึกษา จะต้องประพฤติตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหากฝ่าฝืน
หนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสามารถนำตัวไปมอบให้ผู้บริหารโรงเรียน หรือสถานศึกษาเพื่อสอบถามและอบรม
สั่งสอน หรือลงโทษตามระเบียบต่อไป
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม
และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม
และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
มีเวลาว่าง ลองพัฒนาเว็บบล็อกดู
ตอบลบ