จรรยาบรรณข้อที่ 1 : ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วงเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
หลักการ การแสดงออกของบุคคลในทางที่ดีเป็นผลมาจากสภาวะจิตใจที่ดีงาม และความเชื่อถือที่ถูกต้องของบุคคลที่มีความรักและเมตตาย่อมแสดงออกด้วยความปรารถนาในอันที่จะก่อให้เกิดผลดีต่อบุคคลอื่นมีความสุภาพ ไตร่ตรองถึงผลแล้วจึงแสดงออกอย่างจริงใจ ครูจึงต้องมีความรักและเมตตาต่อศิษย์อยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นผลให้พฤติกรรมที่ครูแสดงออกต่อศิษย์ เป็นไปในทางสุภาพเอื้ออาทร ส่งผลดีต่อศิษย์ในทุก ๆ ด้าน
ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า หมายถึง การตอบสนองต่อความต้องการ ความถนัด ความสนใจของศิษย์อย่างจริงใจ สอดคล้องกับการเคารพ การเห็นอกเห็นใจต่อลัทธิพื้นฐานของศิษย์จนเป็นที่ไว้วางใจเชื่อถือและชื่นชมได้รวมทั้งเป็นผลไปสู่การพัฒนารอบด้านอย่างเท่าเทียมกัน
ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า หมายถึง การตอบสนองต่อความต้องการ ความถนัด ความสนใจของศิษย์อย่างจริงใจ สอดคล้องกับการเคารพ การเห็นอกเห็นใจต่อลัทธิพื้นฐานของศิษย์จนเป็นที่ไว้วางใจเชื่อถือและชื่นชมได้รวมทั้งเป็นผลไปสู่การพัฒนารอบด้านอย่างเท่าเทียมกัน
พฤติกรรมสำคัญ
1. สร้างความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษย์ แต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น
– ให้ความเป็นกันเองกับศิษย์
– รับฟังปัญหาของศิษย์และให้ความช่วยเหลือศิษย์
– ร่วมทำกิจกรรมกับศิษย์เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
– สนทนาไต่ถามทุกข์สุขของศิษย์ ฯลฯ
2. ตอบสนองข้อเสนอและการกระทำของศิษย์ในทางสร้างสรรค์ตามสภาพปัญหาความต้องการและศักยภาพของศิษย์แต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น
– สนใจคำถามและคำตอบของศิษย์ทุกคน
– ให้โอกาสศิษย์แต่ละคนได้แสดงออกตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
– ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของศิษย์
– รับการนัดหมายของศิษย์เกี่ยวกับการเรียนรู้ก่อนงานอื่น ๆ ฯลฯ
3. เสนอและแนะแนวทางการพัฒนาของศิษย์แต่ละคนและทุกคนตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– มอบหมายงานตามความถนัด
– จัดกิจกรรมหลากหลายตามสภาพความแตกต่างของศิษย์เพื่อให้แต่ละคนประสบความสำเร็จ เป็นระยะ ๆ อยู่เสมอ
– แนะแนวทางที่ถูกให้แก่ศิษย์
– ปรึกษาหารือกับครู ผู้ปกครอง เพื่อน นักเรียน เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาของศิษย์ ฯลฯ
4. แสดงผลงานที่ภูมิใจของศิษย์แต่ละคนและทุกคนทั้งในและนอกสถานศึกษา ตัวอย่างเช่น
– ตรวจผลงานของศิษย์อย่างสม่ำเสมอ
– แสดงผลงานของศิษย์ในห้องเรียน (ห้องปฏิบัติการ)
– ประกาศหรือเผยแพร่ผลงานของศิษย์ที่ประสบความสำเร็จ
1. สร้างความรู้สึกเป็นมิตร เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษย์ แต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น
– ให้ความเป็นกันเองกับศิษย์
– รับฟังปัญหาของศิษย์และให้ความช่วยเหลือศิษย์
– ร่วมทำกิจกรรมกับศิษย์เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม
– สนทนาไต่ถามทุกข์สุขของศิษย์ ฯลฯ
2. ตอบสนองข้อเสนอและการกระทำของศิษย์ในทางสร้างสรรค์ตามสภาพปัญหาความต้องการและศักยภาพของศิษย์แต่ละคนและทุกคน ตัวอย่างเช่น
– สนใจคำถามและคำตอบของศิษย์ทุกคน
– ให้โอกาสศิษย์แต่ละคนได้แสดงออกตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ
– ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของศิษย์
– รับการนัดหมายของศิษย์เกี่ยวกับการเรียนรู้ก่อนงานอื่น ๆ ฯลฯ
3. เสนอและแนะแนวทางการพัฒนาของศิษย์แต่ละคนและทุกคนตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– มอบหมายงานตามความถนัด
– จัดกิจกรรมหลากหลายตามสภาพความแตกต่างของศิษย์เพื่อให้แต่ละคนประสบความสำเร็จ เป็นระยะ ๆ อยู่เสมอ
– แนะแนวทางที่ถูกให้แก่ศิษย์
– ปรึกษาหารือกับครู ผู้ปกครอง เพื่อน นักเรียน เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ปัญหาของศิษย์ ฯลฯ
4. แสดงผลงานที่ภูมิใจของศิษย์แต่ละคนและทุกคนทั้งในและนอกสถานศึกษา ตัวอย่างเช่น
– ตรวจผลงานของศิษย์อย่างสม่ำเสมอ
– แสดงผลงานของศิษย์ในห้องเรียน (ห้องปฏิบัติการ)
– ประกาศหรือเผยแพร่ผลงานของศิษย์ที่ประสบความสำเร็จ
จรรยาบรรณข้อที่ 2 : ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
หลักการ ครูที่ดีต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศิษย์ให้เจริญได้อย่างเต็ม ศักยภาพ และถือว่าความรับผิดชอบของตนจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อศิษย์ได้แสดงออกซึ่งผลแห่งการพัฒนานั้นแล้ว ครูจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับศักยภาพของศิษย์แต่ละคนและทุกคนเลือกกิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย เหมาะสมสอดคล้องกับการพัฒนาตามศักยภาพนั้น ๆ ดำเนินการให้ศิษย์ได้ลงมือทำกิจกรรมการเรียน จนเกิดผลอย่างแจ้งชัด และยังกระตุ้นยั่วยุให้ศิษย์ทุกคนได้ทำกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อความเจริญงอกงามอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ครูต้องอบรมสั่งสอนฝึกฝนสร้างเสริมความรู้ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่การเลือกกำหนดกิจกรรมการเรียนที่มุ่งผลต่อการพัฒนาในตัวศิษย์อย่างแท้จริงการจัดให้ศิษย์มีความรับผิดชอบ และเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ตลอดจนการประเมินร่วมศิษย์ ในผลของการเรียนและการเพิ่มพูนการเรียนรู้ภายหลังบทเรียนต่าง ๆ ด้วยความปรารถนาที่จะให้ศิษย์แต่ละคนและทุกคนพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพและตลอดไป
ครูต้องอบรมสั่งสอนฝึกฝนสร้างเสริมความรู้ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่การเลือกกำหนดกิจกรรมการเรียนที่มุ่งผลต่อการพัฒนาในตัวศิษย์อย่างแท้จริงการจัดให้ศิษย์มีความรับผิดชอบ และเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ตลอดจนการประเมินร่วมศิษย์ ในผลของการเรียนและการเพิ่มพูนการเรียนรู้ภายหลังบทเรียนต่าง ๆ ด้วยความปรารถนาที่จะให้ศิษย์แต่ละคนและทุกคนพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพและตลอดไป
พฤติกรรมสำคัญ
1. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษย์อย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ ตัวอย่างเช่น
– สอนเต็มเวลา ไม่เบียดบังเวลาของศิษย์ไปหาผลประโยชน์ส่วนตน
– เอาใจใส่ อบรม สั่งสอนศิษย์จนเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน
– อุทิศเวลาเพื่อพัฒนาศิษย์ตามความจำเป็นและเหมาะสม
– ไม่ละทิ้งชั้นเรือนหรือขาดการสอนฯลฯ
2. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษย์อย่างเต็มศักยภาพ ตัวอย่างเช่น
– เลือกใช้วิธีการที่หลากหลายในการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของศิษย์
– ให้ความรู้โดยไม่ปิดบัง
– สอนเต็มความสามรถ
– เปิดโอกาสให้ศิษย์ได้ฝึกปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ
– สอนเต็มความสามารถและด้วยความเต็มใจ
– กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย พัฒนาขึ้น
– ลงมือจัดเลือกกิจกรรมที่นำสู่ผลจริง
– ภูมิใจเมื่อศิษย์พัฒนาฯลฯ
3. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศิษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใน ตัวอย่างเช่น
– สั่งสอนศิษย์โดยไม่บิดเบือนหรือปิดบังอำพราง
– อบรมสั่งสอนศิษย์โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
– มอบหมายงานและความผลงานด้วยความยุติธรรมฯลฯ
1. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษย์อย่างมุ่งมั่นและตั้งใจ ตัวอย่างเช่น
– สอนเต็มเวลา ไม่เบียดบังเวลาของศิษย์ไปหาผลประโยชน์ส่วนตน
– เอาใจใส่ อบรม สั่งสอนศิษย์จนเกิดทักษะในการปฏิบัติงาน
– อุทิศเวลาเพื่อพัฒนาศิษย์ตามความจำเป็นและเหมาะสม
– ไม่ละทิ้งชั้นเรือนหรือขาดการสอนฯลฯ
2. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศิษย์อย่างเต็มศักยภาพ ตัวอย่างเช่น
– เลือกใช้วิธีการที่หลากหลายในการสอนให้เหมาะสมกับสภาพของศิษย์
– ให้ความรู้โดยไม่ปิดบัง
– สอนเต็มความสามรถ
– เปิดโอกาสให้ศิษย์ได้ฝึกปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ
– สอนเต็มความสามารถและด้วยความเต็มใจ
– กำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย พัฒนาขึ้น
– ลงมือจัดเลือกกิจกรรมที่นำสู่ผลจริง
– ภูมิใจเมื่อศิษย์พัฒนาฯลฯ
3. อบรม สั่งสอน ฝึกฝนและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศิษย์ด้วยความบริสุทธิ์ใน ตัวอย่างเช่น
– สั่งสอนศิษย์โดยไม่บิดเบือนหรือปิดบังอำพราง
– อบรมสั่งสอนศิษย์โดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง
– มอบหมายงานและความผลงานด้วยความยุติธรรมฯลฯ
จรรยาบรรณข้อที่ 3 : ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
หลักการการเรียนรู้ในด้านค่านิยมและจริยธรรมจำเป็นต้องมีตัวแบบที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนยึดถือและนำไปปฏิบัติตาม ครูที่ดีจึงถ่ายทอดค่านิยมและจริยธรรมด้วยการแสดงตนเป็นตัวอย่างเสมอ การแสดงตนเป็นตัวอย่างนี้ถือว่าครูเป็นผู้นำในการพัฒนาศิษย์อย่างแท้จริง
การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงอกกอย่างสม่ำเสมอของครูที่ศิษย์สามารถสังเกตรับรู้ได้เอง และเป็นการแสดงที่เป็นไปตามมาตรฐานแห่งพฤติกรรมระดับสูงตามค่านิยม คุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี หมายถึง การแสดงอกกอย่างสม่ำเสมอของครูที่ศิษย์สามารถสังเกตรับรู้ได้เอง และเป็นการแสดงที่เป็นไปตามมาตรฐานแห่งพฤติกรรมระดับสูงตามค่านิยม คุณธรรมและวัฒนธรรมอันดีงาม
พฤติกรรมสำคัญ
1. ตระหนักว่าพฤติกรรมการแสดงออกของครูมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของศิษย์อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
– ระมัดระวังในการกระทำ และการพูดของตนเองอยู่เสมอ
– ไม่โกธรง่ายหรือแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต่อหน้าศิษย์
– มองโลกในแง่ดี ฯลฯ
2. พูดจาสุภาพและสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศิษย์และสังคม ตัวอย่างเช่น
– ไม่พูดคำหยาบหรือก้าวร้าว
– ไม่นินทาหรือพูดจาส่อเสียด
– พูดชมเชยให้กำลังใจศิษย์ด้วยความจริงใจฯลฯ
3. กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี สอดคล้องกับคำสอนของตน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ตัวอย่างเช่น
– ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ดีอยู่เสมอ
– แต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ
– แสดงกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ
– ตรงต่อเวลา
– แสดงออกซึ่งนิสัยในการประหยัดซื่อสัตย์ อดทน สามัคคี มีวินัย ฯลฯ
1. ตระหนักว่าพฤติกรรมการแสดงออกของครูมีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมของศิษย์อยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
– ระมัดระวังในการกระทำ และการพูดของตนเองอยู่เสมอ
– ไม่โกธรง่ายหรือแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต่อหน้าศิษย์
– มองโลกในแง่ดี ฯลฯ
2. พูดจาสุภาพและสร้างสรรค์โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศิษย์และสังคม ตัวอย่างเช่น
– ไม่พูดคำหยาบหรือก้าวร้าว
– ไม่นินทาหรือพูดจาส่อเสียด
– พูดชมเชยให้กำลังใจศิษย์ด้วยความจริงใจฯลฯ
3. กระทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี สอดคล้องกับคำสอนของตน และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ตัวอย่างเช่น
– ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพ และบุคลิกภาพที่ดีอยู่เสมอ
– แต่งกายสะอาดสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ
– แสดงกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ
– ตรงต่อเวลา
– แสดงออกซึ่งนิสัยในการประหยัดซื่อสัตย์ อดทน สามัคคี มีวินัย ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อที่ 4 : ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์
หลักการ การแสดงออกของครูใด ๆ ก็ตามย่อมมีผลในทางบวกหรือลบ ต่อความเจริญเติบโตของศิษย์เมื่อครูเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อการพัฒนาทุก ๆ ด้านของศิษย์ จึงต้องพิจารณาเลือกแสดงแต่เฉพาะการแสดงที่มีผลทางบวก พึงระงับและละเว้นการก้าวหน้าของศิษย์ ทุก ๆ ด้าน
การไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หมายถึง การตอบสนองต่อศิษย์ในการลงโทษหรือให้รางวัลการกระทำอื่นใดที่นำไปสู่การลดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และการเพิ่มพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
การไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติ ปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หมายถึง การตอบสนองต่อศิษย์ในการลงโทษหรือให้รางวัลการกระทำอื่นใดที่นำไปสู่การลดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา และการเพิ่มพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
พฤติกรรมสำคัญ
1. ละเว้นการกระทำที่ทำให้ศิษย์เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมของศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– ไม่นำปมด้อยของศิษย์มาล้อเลียน
– ไม่ประจานศิษย์
– ไม่พูดจาหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการซ้ำเติมปัญหาหรือข้อบกพร่องของศิษย์
– ไม่นำความเครียดมาระบายต่อศิษย์ไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือสีหน้าท่าทาง
– ไม่เปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่ของศิษย์
– ไม่ลงโทษศิษย์เกินกว่าเหตุ
2. ละเว้นการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายของศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– ไม่ทำร้ายร่างกายศิษย์
– ไม่ลงโทษศิษย์เกินกว่าระเบียบกำหนด
– ไม่ใช้ศิษย์ทำงานเกินกำลังความสามารถ ฯลฯ
3. ละเว้นการกระทำที่สกัดกั้นพัฒนาการทาง สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของศิษย์
– ไม่ตัดสินคำตอบถูกผิดโดยยึดคำตอบของครู
– ไม่ดุด่าซ้ำเติมศิษย์ที่เรียนช้า
– ไม่ขัดขวางโอกาสให้ศิษย์ได้แสดงออกทางสร้างสรรค์
– ไม่ตั้งฉายาในทางลบให้แก่ศิษย์ ฯลฯ
1. ละเว้นการกระทำที่ทำให้ศิษย์เกิดความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคมของศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– ไม่นำปมด้อยของศิษย์มาล้อเลียน
– ไม่ประจานศิษย์
– ไม่พูดจาหรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการซ้ำเติมปัญหาหรือข้อบกพร่องของศิษย์
– ไม่นำความเครียดมาระบายต่อศิษย์ไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือสีหน้าท่าทาง
– ไม่เปรียบเทียบฐานะความเป็นอยู่ของศิษย์
– ไม่ลงโทษศิษย์เกินกว่าเหตุ
2. ละเว้นการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและร่างกายของศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– ไม่ทำร้ายร่างกายศิษย์
– ไม่ลงโทษศิษย์เกินกว่าระเบียบกำหนด
– ไม่ใช้ศิษย์ทำงานเกินกำลังความสามารถ ฯลฯ
3. ละเว้นการกระทำที่สกัดกั้นพัฒนาการทาง สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของศิษย์
– ไม่ตัดสินคำตอบถูกผิดโดยยึดคำตอบของครู
– ไม่ดุด่าซ้ำเติมศิษย์ที่เรียนช้า
– ไม่ขัดขวางโอกาสให้ศิษย์ได้แสดงออกทางสร้างสรรค์
– ไม่ตั้งฉายาในทางลบให้แก่ศิษย์ ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อที่ 5 : ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
หลักการ การใช้ตำแหน่งหน้าที่ในวิชาชีพแสวงหาประโยชน์ตนโดยมิชอบ ย่อมทำให้เกิดความลำเอียงในการปฏิบัติหน้าที่ สร้างความไม่เสมอภาคนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาในบุคคลและวิชาชีพนั้นดังนั้น ครูจึงต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันมิควรได้จากศิษย์ หรือใช้ศิษย์ให้ไปแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
การไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ หมายถึง การไม่กระทำการใด ๆ ที่จะได้มาซึ่งผลตอบแทนเกินสิทธิที่พึงมีพึงได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบตามปกติ
การไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ หมายถึง การไม่กระทำการใด ๆ ที่จะได้มาซึ่งผลตอบแทนเกินสิทธิที่พึงมีพึงได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบตามปกติ
พฤติกรรมสำคัญ
1. ไม่รับหรือแสวงหาอามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์อันมิควรจากศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– ไม่หารายได้จาการนำสินค้ามาขายให้ศิษย์
– ไม่ตัดสินผลงานหรือผลการเรียน โดยมีสิ่งแลกเปลี่ยน
– ไม่บังคับหรือสร้างเงื่อนไขให้ศิษย์มาเรียนพิเศษเพื่อหารายได้ ฯลฯ
2. ไม่ใช่ศิษย์เป็นเครื่องมือหาประโยชน์ให้กับคนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขนมธรรมเนียม ประเพณีหรือความรู้สึกของสังคม ตัวอย่างเช่น
– ไม่นำผลงานของศิษย์ไปแสวงหากำไรส่วนคน
– ไม่ใช้แรงงานศิษย์เพื่อประโยชน์ส่วนตน
– ไม่ใช้หรือจ้างวานศิษย์ไปทำสิ่งผิดกฎหมาย ฯลฯ
1. ไม่รับหรือแสวงหาอามิสสินจ้างหรือผลประโยชน์อันมิควรจากศิษย์ ตัวอย่างเช่น
– ไม่หารายได้จาการนำสินค้ามาขายให้ศิษย์
– ไม่ตัดสินผลงานหรือผลการเรียน โดยมีสิ่งแลกเปลี่ยน
– ไม่บังคับหรือสร้างเงื่อนไขให้ศิษย์มาเรียนพิเศษเพื่อหารายได้ ฯลฯ
2. ไม่ใช่ศิษย์เป็นเครื่องมือหาประโยชน์ให้กับคนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ขนมธรรมเนียม ประเพณีหรือความรู้สึกของสังคม ตัวอย่างเช่น
– ไม่นำผลงานของศิษย์ไปแสวงหากำไรส่วนคน
– ไม่ใช้แรงงานศิษย์เพื่อประโยชน์ส่วนตน
– ไม่ใช้หรือจ้างวานศิษย์ไปทำสิ่งผิดกฎหมาย ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อที่ 6 : กฎย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
หลักการ สังคมและวิทยาการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ครูในฐานะผู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต
การพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ หมายถึง การใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ให้ทัน
สมัย ทันเหตุการณ์ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยี สามารถพัฒนาบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์
การพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อยู่เสมอ หมายถึง การใฝ่รู้ ศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ให้ทัน
สมัย ทันเหตุการณ์ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยี สามารถพัฒนาบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์
พฤติกรรมสำคัญ
1. ใส่ใจศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
– หาความรู้จากเอกสาร ตำรา และสื่อต่าง ๆ อยู่เสมอ
– จัดทำและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ตามโอกาส
– เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา หรือฟังการบรรยายหรืออภิปรายทางวิชาการ ฯลฯ
2. มีความรอบรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น
– นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
– ติดตามข่าวสารเหตุการณ์ด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม การเมืองอยู่เสมอ
– วางแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ฯลฯ
3. แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น
– รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ
– มีความเชื่อมั่นในตนเอง
– แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย
– มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคม ฯลฯ
1. ใส่ใจศึกษาค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น
– หาความรู้จากเอกสาร ตำรา และสื่อต่าง ๆ อยู่เสมอ
– จัดทำและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ตามโอกาส
– เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา หรือฟังการบรรยายหรืออภิปรายทางวิชาการ ฯลฯ
2. มีความรอบรู้ ทันสมัย ทันเหตุการณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ กำหนดเป้าหมาย แนวทางพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การอาชีพ และเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น
– นำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ประกอบการเรียนการสอน
– ติดตามข่าวสารเหตุการณ์ด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม การเมืองอยู่เสมอ
– วางแผนพัฒนาตนเองและพัฒนางาน ฯลฯ
3. แสดงออกทางร่างกาย กริยา วาจา อย่างสง่างาม เหมาะสมกับกาลเทศะ ตัวอย่างเช่น
– รักษาสุขภาพและปรับปรุงบุคลิกภาพอยู่เสมอ
– มีความเชื่อมั่นในตนเอง
– แต่งกายสะอาดเหมาะสมกับกาลเทศะและทันสมัย
– มีความกระตือรือร้น ไวต่อความรู้สึกของสังคม ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อที่ 7 : ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
หลักการ ความรักและเชื่อมั่นในอาชีพของตนย่อมทำให้ทำงานอย่างมีความสุขและมุ่งมั่น อันจะส่งผลให้อาชีพนั้นเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง ดังนั้นครูย่อมรักและศรัทธาในอาชีพครูด้วยความเต็มใจ
ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู หมายถึง การแสดงออกด้วยความชื่นชมและเชื่อมั่นในอาชีพครูด้วยตระหนักว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ครูพึงปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและภูมิใจ รวมทั้งปกป้องเกียรติภูมิของอาชีพครู เข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนองค์กรวิชาชีพครู
ความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู หมายถึง การแสดงออกด้วยความชื่นชมและเชื่อมั่นในอาชีพครูด้วยตระหนักว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ครูพึงปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจและภูมิใจ รวมทั้งปกป้องเกียรติภูมิของอาชีพครู เข้าร่วมกิจกรรมและสนับสนุนองค์กรวิชาชีพครู
พฤติกรรมสำคัญ
1. เชื่อมั่น ชื่นชม ภูมิใจในความเป็นครูและองค์กรวิชาชีพครู ว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ตัวอย่างเช่น
– ชื่นชมในเกียรติและรางวัลที่ได้รับและรักษาไว้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
– ยกย่องชมเชยเพื่อนครูที่ประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการสอน
– เผยแพร่ผลสำเร็จของตนเองและเพื่อนครู
– แสดงตนว่าเป็นครูอย่างภาคภูมิ ฯลฯ
2. เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพครูและสนับสนุนหรือเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครู ตัวอย่างเช่น
– ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดขององค์กร
– ร่วมกิจกรรมที่องค์กรจัดขึ้น
– เป็นกรรมการหรือคณะทำงานขององค์กร ฯลฯ
3. ปกป้องเกียรติภูมิของครูและองค์กรวิชาชีพ ตัวอย่างเช่น
– เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของครูและองค์กรวิชาชีพครู
– เมื่อมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวงการวิชาชีพครูก็ชี้แจงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
1. เชื่อมั่น ชื่นชม ภูมิใจในความเป็นครูและองค์กรวิชาชีพครู ว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อสังคม ตัวอย่างเช่น
– ชื่นชมในเกียรติและรางวัลที่ได้รับและรักษาไว้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย
– ยกย่องชมเชยเพื่อนครูที่ประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการสอน
– เผยแพร่ผลสำเร็จของตนเองและเพื่อนครู
– แสดงตนว่าเป็นครูอย่างภาคภูมิ ฯลฯ
2. เป็นสมาชิกองค์กรวิชาชีพครูและสนับสนุนหรือเข้าร่วมหรือเป็นผู้นำในกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพครู ตัวอย่างเช่น
– ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อกำหนดขององค์กร
– ร่วมกิจกรรมที่องค์กรจัดขึ้น
– เป็นกรรมการหรือคณะทำงานขององค์กร ฯลฯ
3. ปกป้องเกียรติภูมิของครูและองค์กรวิชาชีพ ตัวอย่างเช่น
– เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานของครูและองค์กรวิชาชีพครู
– เมื่อมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับวงการวิชาชีพครูก็ชี้แจงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
จรรยาบรรณข้อที่ 8 : ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
หลักการ สมาชิกของสังคมใดพึงผนึกกำลังพัฒนาสังคมนั้นและเกื้อกูลสังคมรอบข้าง ในวงวิชาชีพครูผู้ประกอบอาชีพครูพึงร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วยความเต็มใจ อันจะยังผลให้เกิดพลังและศักยภาพในการพัฒนาวิชาชีพครู และการพัฒนาสังคม
การช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ หมายถึง การให้ความร่วมมือ แนะนำปรึกษาช่วยเหลือแก่เพื่อนครูทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และการงานตามโอกาสอย่างเหมาะสม รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน โดยการให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
การช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ หมายถึง การให้ความร่วมมือ แนะนำปรึกษาช่วยเหลือแก่เพื่อนครูทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และการงานตามโอกาสอย่างเหมาะสม รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน โดยการให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
พฤติกรรมสำคัญ
1. ให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น
– ให้คำปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการ
– ให้คำปรึกษาแนะนำการผลิตสื่อการเรียนการสอน ฯลฯ
2. ให้ความช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ สิ่งของแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น
– ร่วมงานกุศล
– ช่วยทรัพย์เมื่อเพื่อนครูเดือนร้อน
– จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฯลฯ
3. เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนรวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ แนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยชุมชน ตัวอย่างเช่น
– แนะแนวทางการป้องกัน และกำจัดมลพิษ
– ร่วมกิจกรรมตามเพณีของชุมชน ฯลฯ
1. ให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น
– ให้คำปรึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการ
– ให้คำปรึกษาแนะนำการผลิตสื่อการเรียนการสอน ฯลฯ
2. ให้ความช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์ สิ่งของแก่เพื่อนครูตามโอกาสและความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น
– ร่วมงานกุศล
– ช่วยทรัพย์เมื่อเพื่อนครูเดือนร้อน
– จัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ฯลฯ
3. เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนรวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำ แนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยชุมชน ตัวอย่างเช่น
– แนะแนวทางการป้องกัน และกำจัดมลพิษ
– ร่วมกิจกรรมตามเพณีของชุมชน ฯลฯ
จรรยาบรรณข้อที่ 9 : ครูพึงประสงค์ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทย
หลักการ หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของการศึกษาคือการพัฒนาคนให้มีภูมิปัญญา และรู้จักเลือกวิธีการดำเนินชีวิตที่ดีงาม ในฐานะที่ครูเป็นบุคลากรทางการศึกษา ครูจึงควรเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
การเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย หมายถึง การริเริ่มดำเนินกิจกรรม สนับสนุนส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย โดยรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์เลือกสรร ปฏิบัติตนและเผยแพร่ศิลปะ ประเพณีดนตรี กีฬา การละเล่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ฯลฯ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การดำรงชีวิตตนและสังคม
การเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย หมายถึง การริเริ่มดำเนินกิจกรรม สนับสนุนส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย โดยรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์เลือกสรร ปฏิบัติตนและเผยแพร่ศิลปะ ประเพณีดนตรี กีฬา การละเล่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ฯลฯ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน การดำรงชีวิตตนและสังคม
พฤติกรรมสำคัญ
1. รวบรวมข้อมูลและเลือกสรรภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เหมาะสมใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
– เชิญบุคคลในท้องถิ่นเป็นวิทยากร
– นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการเรียนการสอน
– นำศิษย์ไปศึกษาในแหล่งวิทยาการชุมชน ฯลฯ
2. เป็นผู้นำในการวางแผน และดำเนินการเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น
– ฝึกการละเล่นท้องถิ่นให้แก่ศิษย์
– จัดตั้งชมรม สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
– จัดทำพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา ฯลฯ
3. สนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่และร่วมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
– รณรงค์การใช้สินค้าพื้นเมือง
– เผยแพร่การแสดงศิลปะพื้นบ้าน
– ร่วมงานประเพณีของท้องถิ่น ฯลฯ
4. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
– ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
– ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ตำนาน และความเชื่อถือ
– นำผลการศึกษาวิเคราะห์มาใช้ในการเรียนการสอน ฯลฯ
1. รวบรวมข้อมูลและเลือกสรรภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่เหมาะสมใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
– เชิญบุคคลในท้องถิ่นเป็นวิทยากร
– นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้จัดการเรียนการสอน
– นำศิษย์ไปศึกษาในแหล่งวิทยาการชุมชน ฯลฯ
2. เป็นผู้นำในการวางแผน และดำเนินการเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น
– ฝึกการละเล่นท้องถิ่นให้แก่ศิษย์
– จัดตั้งชมรม สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
– จัดทำพิพิธภัณฑ์ในสถานศึกษา ฯลฯ
3. สนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่และร่วมกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
– รณรงค์การใช้สินค้าพื้นเมือง
– เผยแพร่การแสดงศิลปะพื้นบ้าน
– ร่วมงานประเพณีของท้องถิ่น ฯลฯ
4. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
– ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อนำผลมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น
– ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ตำนาน และความเชื่อถือ
– นำผลการศึกษาวิเคราะห์มาใช้ในการเรียนการสอน ฯลฯ
จากปัญหาการกวดวิชาของผู้เรียนในปัจจุบัน ทำให้ส่งผลสะท้อนถึงภาพรวมการศึกษาไทยว่ามีความเหลื่อมล้ำ แตกต่างและมีความไม่เท่าเทียมกันสูง การศึกษาไทยยังเน้นการเรียนการสอนที่ยังเน้นการสอบสูง มีการแข่งขันตามมามาก และการ เรียนการสอนในโรงเรียนยังมีปัญหามากโดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ระบบดังกล่าวนำไปสู่ค่านิยมของการเลือกสถาบันมีชื่อ ทางแก้จึงกลับมาอยู่ที่พื้นฐานหลัก คือการส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาการสอนอย่างแท้จริงและมีคุณภาพสูง หากว่าครูปฏิบัติได้ตามจรรยาบรรณดังกล่าวได้ ปัญหาระดับชาติก็จะไม่เกิดขึ้น หรือว่าเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นในระดับที่น้อยมาก ในสมัยก่อนไม่มีการกวดวิชา ก็ยังสามารถผลิตบุคลลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพได้มากมายหลายคน ในขณะเดียวกันรัฐก็จะต้องทำให้ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษานั้นลดน้อยลง โดย ภาพรวมจึงต้องดู 2 แนวทางหลัก คือในส่วนของการกวดวิชา รัฐจะต้องร่วมมือกับเด็ก ผู้ปกครอง โรงเรียนกวดวิชาเอง กำหนดเกณฑ์คุณภาพของโรงเรียนกวดวิชาขึ้นมาแล้วดูแลให้ปฏิบัติได้ ส่งเสริมโครงการระยะสั้น เตรียมความพร้อมให้เด็กที่ขาดโอกาสเรียนเสริม ในส่วนของระบบการศึกษาโดยรวมจะต้องปรับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยหรือเข้าศึกษาต่อในระดับ ชั้นต่างๆ ใหม่ รวมถึงการกระจายคุณภาพและโอกาสทางการศึกษาให้ กว้างขวางใกล้เคียงกัน
ข้อมูลจาก ดร.นรีภัทร ผิวพอใช้
เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2545) การกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปนระเทศไทย. รายงาน การวิจัย.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539.
ค้นหาออนไลน์ จาก http://www.edu.chula.ac.th/knowledge/rule/rule2539.htm
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539.
ค้นหาออนไลน์ จาก http://www.edu.chula.ac.th/knowledge/rule/rule2539.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น